===== แนวทางการทำคอร์ส ===== แนวทางด้านล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการทำเท่านั้น ==== แนวทางการจับภาพ ==== ใช้ความละเอียด 1280x720 ในการจับภาพ ปรับความละเอียดจอให้ใกล้เคียง เช่น 1600x900 หรือ 1366x768 เป็นต้น ให้อยู่ในอัตราส่วนเดียวกัน การจับภาพต้องดูความเหมาะสมก่อนการจับภาพ คือ ต้องจับภาพเต็มจอ หรือเฉพาะหน้าต่างโปรแกรม และหากเป็นหน้าต่างโปรแกรม ย่อเป็น 1280x720 แล้วจับแบบ Lock to Application หน้าต่างโปรแกรมแสดงรายละเอียดเพียงพอไหม? หากไม่เพียงพอ ให้ขยายความละเอียดเพิ่มเติมโดยรักษาอัตราส่วนเดิมเอาไว้ และในการตัดต่อ เราจะใช้ zoom and และ zoom out (เน้นช่วงที่เน้น ซูม 100% แต่หากไม่เน้น และต้องการให้เห็นภาพรวมก็ให้แสดงเต็มจอภาพ) หากหน้าต่างโปรแกรมใช้ความละเอียด 1280x720 แสดงรายละเอียดเพียงพอ ก็ให้จับภาพความละเอียดนี้เลย โดยใช้การจับแบบหน้าต่าง หรือแบบ Lock to Application กรณีที่จับภาพหลาย ๆ หน้าต่าง ให้เปิดแต่ละหน้าต่าง ปรับความละเอียดเป็น 1280x720 แล้วแยกตำแหน่งกัน เวลาซูม 100% ก็จะพอดีหน้าต่าง ภาพก็จะคมชัด ==== การบันทึกเสียง ==== ควรใช้ไมค์ USB เพื่อเสียงคมชัด และมีปัญหาน้อยและต้องดูด้วยว่า สถานที่บันทึกเสียง มีเสียงรบกวนมากน้อยแค่ไหน ไมค์แบบไหน เหมาะสมกับสถานที่ เป็นไมค์ Dynamic หรือ Condenser หากมีอยู่แล้ว ก็ปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ ควรบันทึกเสียงให้มีคุณภาพ คือ ไม่มีเสียงก้อง ไม่มีเสียงลม เสียงหายใจ เสียงรบกวนภายนอก ระยะห่างระหว่างปากกับไมค์ควรให้มีระยะพอดี Dynamic Microphone ไมโครโฟนที่ร้องคาราโอเกะ เหมาะสำหรับบันทึกเสียงในที่ ๆ มีเสียงรบกวน รุ่นที่แนะนำ Audio Technica ATR2100 หรือ Samson Q2U เป็นไมค์แบบ USB/XLR Condenser ไมโครโฟนสำหรับบันทึกเสียงใน Studio หรือในที่เงียบ ๆ มีเสียงรบกวนน้อย รุ่นที่แนะนำ Samson C01u, Blue Snowball, Blue Yeti ไมค์รุ่นต่างๆ หากไม่มีประสบการณ์แนะนำนำคอมพิวเตอร์ไปทดสอบ หรือทดสอบก่อนที่จะซื้อ ==== การใช้ Effects ==== การใช้ Effects เช่น Callouts หรืออื่น ๆ ก็เพื่อให้วีดีโอน่าสนใจ สร้างการจดจำให้กับผู้ชม และการใช้ ควรให้มีรูปแบบเดียวกันทั้งโครงการ (คือ แต่ละอย่าง เช่น ลูกศร หรือ วงกลม ควรให้มีสีเดียว หรือขนาดเหมือนกันทั้งโครงการ โดยจัดเก็บไว้ใน Library แล้วดึงมาใช้ จะทำให้มีรูปแบบเดียวกันเสมอ) และเมื่อใช้จบโครงการ ควรส่งออกมาเก็บไว้ในชุดข้อมูลของโครงการ ==== การบรรยาย ==== ควรบรรยายเหมือนคุยกันโดยตรง พูดให้เป็นธรรมาชาิต เหมือนคุยต่อหน้าเพื่อนๆ ไม่พูดเชิงสอนจนเกินไป ควรซ้อมมาก่อน ไม่ควรมี เอ้อ อ้า น้ำเสียงควรมีความกระตือรือร้น พูดเรื่อย ๆ ให้ฟังว่า เรามีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนี้ ถ้าไม่มั่นใจ ก็ให้อัดหลาย ๆ ครั้ง แล้วเลือกเอาคลิปที่ดีที่สุด ถ้าเป็นการอ่านสคริปต์ ก็ให้อ่านหลาย ๆ รอบจนเสียงเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การอ่านหนังสือ (ให้นึกถึงการบรรยายสารคดี หรือการพากย์หนัง) อ่านเพิ่มเติมไปบ้าง เพื่อให้สำเนียงเป็นการพูด แบบไม่ต้องเป๊ะกับสคริปต์ 100% แต่ใส่คำพูดหรือสำเนียงการพูดเข้าเพิ่มเติมด้วย หาสถานที่เงียบ ๆ ในการบันทึกเสียง ให้มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด ==== การตัดต่อ ==== ควรให้มีแนวทางคล้าย ๆ กัน เช่น การใส่ transition การใช้ title การใส่ดนตรีต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ควรเข้าใจการตัดต่อและเทคนิคต่าง ๆ ด้วย เพื่อให้การตัดต่อเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนบันทึกด้วย หากมีความผิดพลาดน้อย ก็จะทำให้การใช้เวลาตัดต่อน้อยลงไปด้วย ==== การเข้ารหัส ==== การเข้ารหัสควรสร้างเป็นแม่แบบเก็บไว้ แล้วใช้แม่แบบเหมาะสมกับแต่ละงาน จะทำให้วีดีโอมีมาตรฐานเดียวกัน และหากเข้ารหัสเยอะ ๆ อาจจะใช้ Batch production เพือให้ทำการเข้ารหัสอย่างต่อเนื่องกันไป