ต้องมองตัวเองก่อนว่า เราจะสอนอะไร มีความรู้เพียงพอที่จะสอนหรือยัง
1.1 ยังไม่รู้จะสอนอะไรดี คุณถนัดเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่ ถ้าถนัด แล้วเพียงพอหรือเหมาะสมที่จะทำเป็นคอร์สหรือไม่ ดูตลาดมีไหม ถ้าคิดว่าพอ และมีตลาดรองรับ ก็สามารถนำมาทำเป็นคอร์สได้
ถ้ายังไม่มีเรื่องใดถนัดเลย ก็ต้องดูว่า มีอะไรน่าสนใจที่ตลาดต้องการ แล้วก็ไปฝึกฝนหาความรู้มา ฝึกฝนให้เยอะ เรียนรู้ให้มาก เพื่อจะนำมาสอน
และถ้ายังค้นหาตัวตนของเราเองยังไม่เจอว่า เราอยากสอนอะไร หรือยังมีความรู้ไม่เพียงพอที่จะสอน แนะนำให้ไปสำรวจข้อมูลและดูแนวทางการสอนได้ในเว็บ udemy.com ที่เว็บนี้ จะมีคอร์สต่าง ๆ มากมาย ลองไปดูตลาดฝรั่งก่อนก็ได้ว่า มีคอร์สอะไรบ้าง มีคนเรียนเยอะไหม ดูรูปแบบการจัดเรียงหมวดหมู่เนื้อหา และหัวข้อว่าเขาจัดอย่างไรอย่างไร เพื่อมาเป็นแนวทาง หรือไม่ก็ดูคอร์สใดที่เราสนใจเป็นพิเศษ และเรียนรู้คอร์สนั้น ๆ เลย ฝึกฝนให้ชำนาญแล้วเราก็เอาข้อมูลที่เราเรียนมานั่นแหล่ะ มาเป็นแนวทางในการทำคอร์ส
1.2 มีความรู้พอจะสอนได้ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ถึงคุณมีความรู้อยู่บ้าง เมื่อคุณคิดว่า คุณรู้มากกว่าคนอื่น ๆ คุณก็มั่นใจได้เลยว่า คุณสามารถสอนได้ มีความรู้พอที่จะสร้างคอร์สได้ ถึงมีไม่เยอะ แต่เมื่อคุณคิดว่าจะสอนแล้ว ให้อดทนศึกษาและฝึกฝนความรู้ที่มีอยู่เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ก็สามารถจะสอนได้เช่นกัน
แต่จุดเริ่มต้นไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ไม่ยากครับ udemy.com เป็นตัวอย่างที่ดีที่มีคอร์สมากมายให้เราได้เข้าไปค้นหา ดูคอร์สต่าง ๆ ที่มีแนวคล้าย ๆ กับของเรา แล้วดูว่า เขาสอนอะไรบ้าง บางทีเราอาจจะได้แนวเพิ่มเติมมาก็ได้ ดูการจัดหมวดหมู่ ดูการเขียนหัวข้อเรื่องที่สอนมีอะไรบ้างที่เราน่าจะนำมาใส่คอร์สเรา หรือมีอะไรบ้าง ที่เราน่าจะศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเอามาสอน เราก็จะพอมองเห็นแนวทางในการทำคอร์สมากขึ้น
เมื่อมีความรู้ที่จะสอน ก็นำความรู้เหล่านั้นมาจัดเปนหมวดหมู่ เขียนชื่อเรื่องแต่ละเรื่องที่เราจะสอนใส่ไปยังหมวดหมู่ต่าง ๆ เรียงลำดับให้ดี ให้ผู้เรียนเดินตามไปจนถึงจุดหมายได้ แล้วก็เขียนบทหรือสคริปต์ (Script) ที่เราจะสอนในแต่ละเรื่องเอาไว้ด้วย อาจจะเป็นเนื้อหาที่เราสอนทั้งหมด หรืออาจจะเป็นหัวข้อหลัก ๆ ที่เราจะสอน หรืออาจจะเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราจะสอนก็ได้
การทำโครงร่างนั้น ก็อาจจะใช้ซอฟท์แวร์ในการจัดทำก็ได้ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Mind Map หรือ Text Editor ก็ได้
สิ่งที่เราจะสอน จะนำเสนอในรูปแบบไหนดี? ่เช่น ถ้าสอนการใช้งานซอฟท์แวร์ ก็ใช้การจับภาพหน้าจอพร้อมบรรยายประกอบ โดยรวมก็ถือว่าใช้ได้แล้ว แต่หากต้องการให้เห็นตัวอย่างสิ่งของ ต้องถ่ายหน้าผู้บรรยายด้วย เช่น สอนการทำอาหาร แบบนี้ก็จะต้องเตรียมไฟ เตรียมกล้องถ่ายวีดีโอ เตรียมสถานที่ อย่างนี้เป็นต้น
รูปแบบการนำเสนอจะเป็นตัวกำหนดการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ การลงทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการนำเสนอว่า ผู้สอนจะนำเสนอในรูปแบบใด ที่เหมาะสมกับสิ่งที่จะสอนนั่นเอง
ในการเตรียมงานต่าง ๆ หากมีควารู้ในการทำคอร์นอยู่แล้ว ก็อาจจะเตรียมงานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กันไปก็ได้ แต่ในที่นี้ เพื่อให้ชัดเจนสำหรับผู้เริ่มต้นจึงได้แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ทีละส่วน
หลังจากที่เรามีข้อมูลสำหรับการสอน ข้อมูลโครงร่างคอร์สแล้ว ต่อไปก็เตรียมความรู้ในการดำเนินการ และเครื่องมือ นั่นคือ ซอฟท์แวร์ในการจับภาพหน้าจอ การตัดต่อ และการเข้ารหัสวีดีโอ ผมแนะนำ Camtasia Studio การใช้งานไม่ยุ่งยากจนเกินไป มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะกับการทำคอร์สเป็นอย่างมาก เรียรู้การใช้โปรแกรมนี้ให้คล่อง เพื่อที่จะนำมาทำเป็นคลิปสอน
ถัดมาก็เป็นเรื่องอุปกรณ์บันทึกเสียง นั่นคือ ไมโครโฟน
* เริ่มบันทึกมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 *