Skip to main content.

ป้ายบอกทาง

เมื่อใช้แม่แบบ MonoBook แล้ว หน้าตาของเว็บจะดูดีขึ้น รวมทั้ง ด้านซ้ายของเอกสาร (ด้านล่างของ navigation) คุณสามารถกำหนดหมวดของเรื่องต่าง ๆ หรือลิงก์ต่าง ๆ ที่คุณต้องการเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากวิกิทุก ๆ หน้า

จะเห็นลิงก์ create this page ให้คลิกที่ลิงก์นี้ แต่หากไม่มี จะต้องล็อคอินเข้าสู่ระบบก่อน (ขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบาย ACL ตอนติดตั้งโปรแกรม)

พิมพ์ตามตัวอย่างในรูปได้เลย เครื่องหมาย [ และ ] อย่างละ 2 ตัวนั้น หมายถึงเป็นการเปิดลิงก์ ส่วน : (โคล่อน) เป็นตัวคั่นระหว่าง namespace กับ page ถ้าโคล่อนอยู่ตัวแรกสุด หมายถึง เริ่มต้นที่ root ส่วน | เป็นตัวคั่นระหว่างลิงก์ (page-หน้าเอกสาร) กับคำอธิบายลิงก์-ข้อความสำหรับลิงก์ และ \\ ตามด้วยคานเคาะ 1 ครั้งนั้น หมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่

ถ้าจะอธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือ โคล่อนนั้นเปรียบเหมือนกับ \ ในระบบ Dos/Windows นั่นเอง namespace ก็คือโฟลเดอร์ และ page ก็คือ ไฟล์นั่นเอง เช่น ถ้าในระบบ Dos เราต้องการเข้าถึงไฟล์ win.ini ที่อยู่ใน c:\windows\ เราก็จะต้องระบุ c:\windows\win.ini หรือ \windows\win.ini (ไม่ต้องระบุไดรฟ์ C: หากไดรฟ์ C: เป็นไดรฟ์ปัจจุบัน) แต่ในอินเทอร์เน็ต การระบุเริ่มต้นที่โฟลเดอร์ root นั้น จะใช้ / เป็นตัวเริ่มต้น แต่ใน DokuWiki นี้จะใช้ : แทน /

ในตัวอย่างนั้น :start หมายถึงเป็นไฟล์เอกสารที่อยู่ใน root ของวิกิ (เหมือนกับ index.html ที่อยู่ในโฟลเดอร์ public_html ซึ่งเป็น root ของเิซิร์ฟเวอร์)

:wiki:syntax นั่นหมายความว่า ที่ root ของวิกิ มีโฟลเดอร์ชื่อ wiki อยู่ และในโฟลเดอร์ wiki มีหน้าเอกสารชื่อ syntax ถ้ามองแบบ Dos จะเป็น c:\wiki\syntax นั่นเอง และ page ทุก ๆ หน้าในวิกินี้จะมีนามสกุลเป็น .txt ทุกไฟล์ (หากเข้าไปในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง DokuWiki แล้วเข้าไปที่โฟลเดอร์ data/pages ก็จะเห็นโครงสร้างต่าง ๆ ตามทีกล่าวมา

start ในตัวอย่างนั้นก็คือการเปิดหน้าแรกของวิกิ ส่วน wiki:syntax นั้นเป็นการเปิดรูปแบบการเขียนวิกิ ทำให้คุณสามารถเปิดดูไวยากรณ์ในการเขียนได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น เมื่อเขียนเสร็จแล้วกดปุ่ม Save

จะเห็นข้อความที่ได้เขียนมาแล้วอยู่ภายใต้ navitation ให้คลิกตามลิงก์เพื่อทดสอบการทำงาน

เมื่อคลิกลิงก์ "หน้าแรก" ก็จะเห็นหน้าวิกิหน้าแรกที่ได้เคยเขียนทดสอบเอาไว้ และหน้านี้จะเป็นหน้าหลักที่เมื่อเปิดวิกิก็จะเห็นหน้านี้เป็นหน้าแรก

เมื่อคลิกที่ "รูปแบบการเขียน" ก็จะแสดงหน้าวิกิแสดงไวยากรณ์ในการเขียนวิกิขึ้นมา

ถึงตรงจุดนี้แล้วคิดว่าท่านคงเริ่มมองภาพออกแล้วว่า "ป้ายบอกทาง" นี้ มีไว้ทำอะไร