วีดีโอ : แสดง Feed จากบล็อกที่ชอบใน Dashboard

ใน Dashboard นั้นจะมีโมดูลสำหรับรับ feed ต่างๆ อยู่ 3 รายการด้วยกันคือ

  1. Incoming Links
  2. WordPress Blog
  3. Other WordPress News

เมื่อเอาเม้าส์ไปวางบน Title ก็จะมีลิงก์ Configure เราสามารถปรับแต่งให้รับ Feed จากเว็บอื่น ๆ ที่เราชอบได้ ให้แสดงเมื่อเข้าไปยัง Dashboard แทนที่จะเป็น Feed จาก WordPress เอง ในวีดีโอนี้ จะแสดงการรับ Feed จากเว็บอื่นใน Dashboard

นี่เป็นการเล่นสนุก ๆ กับ Dashboard แทนการใช้งานแบบเดิม ๆ

Continue reading →

วีดีโอ : อัพโหลดไฟล์ไป Media Library โดย FTP Client

ในการอัพโหลดไฟล์ไปยัง WordPress ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ เสียง หรือคลิปวีดีโอ เพื่อนำไปแนบใน Post หรือ Page เป็นการอัพโหลดไปยัง Media Library โดยใช้ WordPress Upload Manager อาจจะไม่สะดวก ในกรณีที่ไฟล์มีขนาดใหญ่ แต่เรามีทางเลือกคือ เราสามารถอัพโหลดไฟล์ต่างๆ เหล่านั้น โดยใช้ FTPp Client ได้ โดยอัพโหลดได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก และไม่มีปัญหาเรื่องไฟล์ขนาดใหญ่ จากนั้นก็ใช้ปลั๊กอิน เพื่อดึงไฟล์เหล่านั้นไปเก็บไว้ใน Media Library สามารถแนบไฟล์เหล่านั้นใน Post หรือ Page ในภายหลังได้

คลิปนี้จะแสดงการใช้ปลั๊กอินในการดึงไฟล์ต่างๆ ที่อัพโหลดโดย FTP Client ไปไว้ใน Media Library

Continue reading →

วีดีโอ : เปลี่ยน path เก็บไฟล์ใน WordPress

โฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์ต่างๆ ที่เราอัพโหลดใน WordPress ก็คือโฟลเดอร์ wp-content/uploads ค่านี้ เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการเปลี่ยนแปลงนี้ เราจะเปลี่ยนเป็นเก็บไว้ใน sub domain เช่น files.domain.com เป็นต้น ไม่ค่อยเหมือนใครด้วย

คลิปวีดีโอนี้จะแสดงการเปลี่ยน path เก็บไฟล์เริ่มต้นของ WordPress เป็นแบบ sub domain แต่ว่า ยังคงเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้ในโฟลเดอร์เดิมคือ wp-content/uploads แต่ url ของไฟล์นั้นเปลี่ยนเป็น sub domain

ขั้นตอนง่าย ๆ ก็คือ สร้าง sub domain ที่ต้องการก่อน โดยให้โฟลเดอร์ของ sub domain คือโฟลเดอร์ที่เราจะเก็บไฟล์ ในตัวอย่างใช้เป็น wp-content/uploads (ง่ายดี ใช้โฟลเดอร์เริ่มต้นของ WordPress แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องระบุด้วย) จากนั้นไปที่เมนู Settings | Media ไปที่ช่อง Full URL path to files ก็ป้อน path ของ url ของ sub domain แล้ว แล้วบันทึก

ต่อไปเมื่ออัพโหลดไฟล์ path ก็จะเป็น path ของ sub domain แล้ว

Continue reading →

รูปแบบการเปิดรับสมาชิกใน WordPress

การที่จะเปิดรับผู้ใช้(สมาชิก)ใน WordPress แบบติดตั้งเองนี้ มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งก็แล้วแต่นโยบายของผู้ดูแลระบบว่า จะใช้แบบไหนในการเปิดรับสมาชิก หากคุณเป็นผู้ดูแลระบบ ก็ลองเลือกวิธีเหล่านี้ดู

1. ผู้ดูแลเพิ่มผู้ใช้เอง โดยการคลิกรายการ Add New ในเมนู Users แล้วป้อนข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ เหมาะสำหรับเว็บที่ไม่ต้องการสมาชิกมากนัก และไม่ต้องการเปิดรับสมาชิกทั่วไป หมดปัญหาเรื่อง Spam ที่จะมาสมัครสมาชิกในเว็บ

2. เปิดรับสมาชิก เป็นการเปิดให้ผู้ใช้สมัครสมาชิกเข้ามาเอง กำหนดข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น ชื่อผู้ใช้ อีเมล์ เป็นต้น โดยผู้ดูแลจะต้องเปิด Membership ใน General Settings ก่อน เหมาะสำหรับเว็บที่เปิดรับสมาชิกไม่จำกัด แต่ก็ควรระวังเรื่อง Spam แนะนำหาปลั๊กอินเสริม เช่น Sabre เป็นต้น

3. ต้องได้รับเชิญ การจะเป็นสมาชิกได้ ต้องได้รับเชิญจากผู้ดูแลหรือจากสมาชิกเดิมของเว็บ เหมาะสำหรับบล็อกปิดที่ต้องการให้เป็นสมาชิกในลักษณะบอกต่อ ๆ กัน ปลั๊กอินที่จะใช้สำหรับเชิญ ผมแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ หากสนใจปลั๊กอินอื่น ๆ ก็ลองหาเพิ่มเติมเอาเอง เช่น Invite Friends WP-Invites และ Secure Invites ลองดูว่าปลั๊กอินตัวไหนตรงกับความต้องการของคุณ

ลองนำไปพิจารณาดูนะครับว่า หากต้องการเปิดรับสมาชิก รูปแบบไหน ที่เหมาะสมหรือตรงกับความต้องการของคุณ