Matt มาเมืองไทย

Matt Mullenweg เป็นใคร? เชื่อว่า ผู้ใช้ WordPress หลาย ๆ ท่านคงรู้จักเป็นอย่างดี แต่หากไม่รู้จัก ลองทำความรู้จักกับ Matt Mullengweg ก่อนก็ได้ครับ พอดีวันนี้เห็นรูปต่าง ๆ ที่โพสต์ไว้ใน Planet.WordPress.org เป็นภาพต่าง ๆ ในเมืองไทย ครับ Matt Mullenweg มาเที่ยวเมืองไทย

Matt เป็นคนที่ชอบถ่ายรูป ไปไหน มักจะมีรูปต่าง ๆ มาให้ชมได้เสมอ ๆ และมาเมืองไทยก็เช่นกัน เขาก็มีรูปต่าง ๆ เกี่ยวกับเมืองไทยนำมาฝากสาวก WordPress ด้วยเช่นกัน

ลองรับชมได้เลยครับ

ถ้ามีคนไทยไปสัมภาษณ์แล้วออก youtube หรือเผยแพร่คลิป คงเป็นการดีไม่น้อยเลย ;-)

WordPress 3 รุ่น alpha

ขณะนี้ WordPress 3 ยังอยู่ในรุ่น alpha รุ่น 3 นี้ก็ได้เพิ่มระบบ multi-site ขึ้นมา (ถ้า WordPress Mu จะเรียก Multi-Users) ทำให้ WordPress รุ่น 3 นี้ สามารถเพิ่มบล็อกได้หลาย ๆ บล็อกโดยการติดตั้งครั้งเดียว (เหมือนกับ WordPress Mu)

ท่านสามารถดาวน์โหลด WordPress nightly build มาทดสอบกันได้ครับ สำหรับรายการที่จะเปิดระบบ Multi-Site นั้น ปกติเคยมีเมนู Network ให้เลือกเพื่อปรับแต่งระบบ Multi-Site แต่ ณ บัดนี้ เมนูนั้น ไ่ม่มีให้เห็นแล้ว (หากใครเคยลงเล่น nightly build รุ่น ก่อน ๆ จะทราบ) แต่เราสามารถเปิดเมนู Network ได้ โดยการเพิ่มบรรทัด

define('WP_ALLOW_MULTISITE', true);

ไปในไฟล์ wp-config.php เมื่อเพิ่มแล้วเมนู Network จะอยู่ภายใต้หัวข้อ Tools ลองทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่ระบบแจ้งไว้ ท่านก็จะสามารถเปิดบล็อกได้หลาย ๆ บล็อกแล้วหล่ะคัรับ

ในรุ่นนี้ ธีมเริ่มต้นนั้นได้เปลี่ยนใหม่แล้วเป็นธีม Twenty Ten ตามที่ผมได้เคยเขียนไว้แล้ว และลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ คือหน้าเข้าสู่ระบบนั้น หากท่านป้อนชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านไม่ถูกต้อง มันจะสั่น ๆ ดูแล้วก็แปลก ๆ กว่าแต่ก่อน โดยรวมนั้น ผมก็ทดสอบเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในรุ่นเต็ม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีก ดังนั้น ก็ลองทำความคุ้นเคยกันก่อนก็ไม่เสียหายครับ

หน้าต่างการติดตั้งโปรแกรมในรุ่นนี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย นั่นคือ เราสามารถกำหนด ชื่อผู้ใช้ (ผู้ดูแลระบบ) และรหัสผ่านได้เองแล้วหล่ะครับ หลายท่านคงจะชื่นชอบเป็นแน่ แต่ถ้ายังนึกชื่อผู้ใช้สำหรับดูแลระบบไม่ออก ก็ใช้ admin เดิมนั่นแหล่ะ เขาก็เตรียมมาไว้ให้เหมือนกัน เผื่อผู้ใช้ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี….

ใช้ฐานข้อมูลต่างโฮสต์

เป็นการใช้ฐานข้อมูลในระยะไกล หรือคนละโฮสต์กัน เช่น เราใช้ WordPress อยู่ที่ wpwebhost แต่เราก็สามารถใช้ฐานข้อมูล MySQL ที่อยู่ที่ SiteGround ได้ ประโยชน์ก็คือในกรณีที่เราใช้ฐานข้อมูลได้จำกัด และมีโฮสต์อื่น ๆ ที่เราใช้ได้ หรือมีเพื่อนให้ใช้ฐานข้อมูลได้ เราก็สามารถดึงข้อมูลที่อยู่โฮสต์อื่นได้ รวมทั้งอีกกรณีคือ ในกรณีที่เราย้ายโฮสต์เปลี่ยน Server นั้น เราใช้ฐานข้อมูลต่างโฮสต์ จะช่วยให้เราสามารถย้ายโฮสต์ได้โดยข้อมูลไม่ตกหล่นเลยทีเดียว
Continue reading →

วีดีโอ : แทรกวีดีโอ mp4 ใน WordPress

มีผู้ชมเห็นผมแทรกวีดีโอไว้ใน WordPress ก็สนใจ และสอบถามถึงการแทรกเข้ามา ผมก็ตอบเมล์ไป ถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำ แต่กลัวว่าจะไม่ได้ผล เพราะมีข้อปลีกย่อยเล็กน้อยที่อาจจะไม่ทราบและทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ และเห็นว่ามีประโยชน์ เลยทำเป็นวีดีโอเทรนนิ่ง
วีดีโอ : แทรกวีดีโอใน WordPress ซะเลย ลองติดตามชมได้ครับ แล้วรูปแบบที่ผมเสนอไปนั้น ก็สามารถใช้ได้ทั้งไฟล์ .mp4 และ .flv เลยครับ

ย้ายโฮสต์ WordPress แบบไม่สะดุด

พูดถึงเรื่องย้ายโฮสต์ น้อยคนนักที่จะย้าย หรือบางคนก็ย้ายบ่อย ก็แล้วแต่ความลำบาก…เอ๊ย ความสะดวกของแต่ละบุคคลหล่ะครับ แต่ถ้าใครใช้ Cpanel ก็สบาย ๆ ไป มันดีจนไม่ต้องใช้แรงสมองมาก

เรื่องย้ายโฮสต์ก็มีคนเขียนบทความกันเยอะ รวมทั้งผมด้วย แต่ก็แทบไม่มีใครพูดถึงย้ายโฮสต์แบบไม่สะดุดเลย ส่วนใหญ่แล้วมักเขียนแบบสะดุดหัวทิ่มหัวตำบ้าง เป็นบางครั้ง แม้ผมเองก็ตาม (ไม่ยอมน้อยหน้าคนอื่นเหมือนกัน) แต่เห็นเครื่องมือใน Cpanel แล้ว น่าสนใจ คือ Remote MySQL นั่นเอง เป็นการใช้ฐานข้อมูลต่าง Host ซะงั้น ลองใช้ดู เออ…เข้าท่าแฮะ

หลังจากลองแล้ว ได้ผลแฮะ ก็เป็นอันว่า เก็บไฟล์ WordPress ไว้โฮสต์เดิม แต่ใช้ฐานข้อมูลใน host ใหม่ซะ เมื่อ DNS มันอัพเดท มันก็จะไปใช้ข้อมูลใน host ใหม่เอง เห็นไหมครับว่า มันจะไปสะดุดได้อย่างไร เพราะใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ใคร DNS อัพเดท ก็ใช้ไฟล์ WordPress ใน Host ใหม่ แต่ใครยังไม่อัพเดท ก็ใช้ WordPress ใน host เก่าไป แต่ฐานข้อมูลอยู่ในโฮสต์ใหม่่ ฐานเดียวกัน โฮสต์เดียวกัน ดังนั้นไม่ต้องกลัวสะดุด เจ๋งไหมครับ…..

แล้ววิธีทำล่ะ??? อืม….ลองฝึกดูครับ เสมือนทำข้อสอบหล่ะครับ บอกแนวทางไปแล้ว คงไม่ยากหล่ะครับ