จับ WordPress ใส่ CD

WordPress นั้น นอกจากจะติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งบน Host และบน Localhost (เครื่อง Desktop) แล้ว เรายังสามารถนำไปติดตั้งบน CD ได้อีกด้วย โดยสามารถนำไปประยุกต์ได้หลาย ๆ อย่าง เหมือนกับเว็บไซต์เว็บหนึ่งที่ทำงานบนแผ่น CD เช่น สำหรับการทำบทความสอนการใช้คอมพิวเตอร์ การนำเสนอสินค้า และอื่น ๆ ตามที่เราจะสามารถนำ WordPress ไปประยุกต์ใช้งาน

ขั้นตอนในการใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพียงหาซอฟท์แวร์สำหรับทำงานที่เหมาะสมมาติดตั้งให้เป็น WebServer ที่ทำงานบนแผ่น CD ที่รองรับ PHP และ MySQL รวมทั้งใช้เทคนิคนิดหน่อย ก็สามารถนำ WordPress ไปโลดแล่นบนแผ่น CD ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้เหมือนกับเว็บ ๆ หนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
Continue reading →

ลดขนาดฐานข้อมูล

WordPress ใช้ฐานข้อมูล MySQL ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ยิ่งใช้ไปนานวัน ก็ยิ่งใหญ่ขึ้น ๆ อาจจะมีผลต่อการสอบถามข้อมูลในการแสดงผลด้วยเช่นกัน และส่วนหนึ่งที่ทำให้ใหญ่ขึ้นก็คือ Post Revisions หรือประวัติการแก้ไขบทความ เมื่อมีการแก้ไขบทความต่าง ๆ ก็จะมีการสร้างระเบียน (record) เก็บบทความเดิมก่อนการแก้ไขเสมอ มีประโยชน์ในการย้อนดูความแตกต่างหรือความเปลี่ยนแปลงของบทความเดิม ๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

Post Revisions นี้มีการเพิ่มเข้ามาใน WordPress 2.6 ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น หากเราไม่ได้กำหนดปิดการใช้งานไว้ใน wp-config.php ก็จะเป็นการเปิดใช้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่แก้ไขบทความ ก็จะสร้างระเบียนไว้เสมอ และยิ่งแก้ไขบ่อย ๆ ฐานข้อมูลก็จะใหญ่ขึ้น เราจะมาดูการลดขนาดฐานข้อมูลกันว่าทำอย่างไร

อย่างแรกก็จะต้องปิด Post Revisions กันเสียก่อน แม้บางท่านอาจจะบอกว่าเก็บไว้ดูประวัติการแก้ไขบทความเก่า ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่บางคนอาจจะอยากต้องการปิดเพราะไม่ได้สนใจว่าจะแก้ไขอย่างไร แก้ไขแล้วก็จบ ๆ กันไป งั้นมาดูการปิด Post Revisions กัน

define(‘WP_POST_REVISIONS’, false);

นำโค้ดด้านบนไปใส่ไว้ใน wp-config.php ก็จะเป็นการปิด Post Revisions แล้ว แก้ไขครั้งต่อไปก็จะไม่สร้างระเบียนขึ้นมาเก็บข้อมูลอีกแล้วหล่ะครับ

ในกรณีที่ไม่ได้ปิด ก็จะมีระเบียนของการแก้ไขบทความเก็บอยู่ และหากไม่จำเป็นต้องใช้ ก็สามารถลบทิ้งออกไปได้ ก็จะช่วยให้ฐานข้อมูลของเรามีขนาดเล็กลง และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยลงไปด้วยเช่นกัน การลบข้อมูลประวัติการแก้ไขบทความนั้นทำดังนี้

  1. เปิด phpmyadmin
  2. เลือกฐานข้อมูลที่ติดตั้ง WordPress
  3. คลิกปุ่ม “SQL” ด้านบน จะปรากฏช่องว่างๆ สำหรับใส่คำสั่ง SQL
  4. ใส่คำสั่ง DELETE FROM wp_posts WHERE post_type = “revision”; ลงไปในช่องคำสั่ง
  5. คลิกปุ่ม “ลงมือ”

wp_posts คือชื่อตารางข้อมูล คำว่า wp นั้นคือคำนำหน้าตารางข้อมูลที่อยู่ใน wp-config.php บรรทัด $table_prefix = ‘wp_’; หากมีการเปลี่ยนแปลงจากค่าเดิมที่กำหนดมาจาก WordPress ก็แก้ไขให้ตรงตาม $table_prefix ของคุณ

phpmyadmin จะทำการลบระเบียนที่เก็บประวัติการแก้ไขบทความออก ทำให้ฐานข้อมูลของคุณมีขนาดเล็กลง หากไม่มั่นใจ ก่อนทำให้สำรองข้อมูลของคุณเสียก่อน

WordPress 2.7 รุ่นเบต้า

WordPress 2.7 คงจะออกมาให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดกันอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้เป็นแน่ ณ ตอนเขียนบทความก็ออก beta 2 แล้ว จากการที่ได้ลองรุ่น beta นี้ก็นับว่า น่าใช้พอสมควร มีการปรับปรุงหน้าตาในส่วนของ Dashboard เป็นอย่างมาก คือ จากเมนูที่เคยอยู่ด้านบน ก็ปรับมาอยู่ด้านซ้าย ข้อมูลบล็อกก็จัดให้มีระเบียบมากยิ่งขึ้น มี Quick Press การแก้ไขบทความก็มีคำสั่งพิเศษเพิ่มเข้ามา ช่วยให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็วนั่นคือ Quick Edit การติดตั้งปลั๊กอินก็สะดวกกว่าแต่ก่อน หาจากเว็บแล้วติดตั้ง หรือจะเลือกไฟล์ .zip แล้วอัพโหลดเข้าไปผ่านทาง Dashboard ก็ง่ายครับ ไม่ต้องอัพโหลดผ่าน FTP อีกต่อไป (หรือใครจะใช้แบบเดิม ๆ ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด) นี่เป็นตัวอย่างเท่านั้น

จากที่ได้ดาวน์โหลดรุ่นที่เขากำลังพัฒนาในแต่ละวันมานั้น รุ่น beta 2 ลองใช้แล้ว บางส่วนมันยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่ (ก็แหงล่ะครับ มันรุ่น beta นี่นา) ในส่วนของการแสดงผลว่าจะให้แสดงผลอะไรได้บ้าง มีเครื่องหมายถูกให้เลือก ตรงนี้ยังทำได้ไม่ดีนักที่เขากำลังพัฒนากันอยู่ เลยต้องกลับไปติดตั้งรุ่น beta 1 แล้วจับภาพมาเกริ่นนำให้ดูกันก่อนที่จะใช้รุ่นเต็มกันต่อไป
Continue reading →

การเปิด mod_rewrite ใน Apache

ในการติดตั้ง WordPress บนเครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop นั้น ไม่ว่าจะใช้ AppServ หรือ XAMPP ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งก็คือ เรื่อง Permalinks นั่นเอง

เมื่อติดตั้ง WordPress แล้ว อยากจะใช้ Permalinks ดู เมื่อปรับปรุง Permalinks แล้วปรากฏว่าใช้ไม่ได้ หรือไม่ได้รูปแบบที่ต้องการ นั่นเป็นเพราะไม่ได้เปิด mod_rewrite ใน Apache นั่นเอง ซึ่งหากไม่ได้ใช้หรือไม่ต้องการปรับเปลี่ยน Permalinks ก็ไม่ต้องไปเปิด mod_rewrite ก็ได้

ในการเปิด mod_rewrite ใน Apache เพื่อรองรับ Permalinks นั้น สำหรับ AppServ นั้นให้เปิดไฟล์ C:\AppServ\Apache2.2\conf/httpd.conf ด้วย Text Editor ขึ้นมา

การแก้ไขของ AppServ

ค้นหาคำว่า mod_rewrite เมื่อพบแล้ว ให้นำเครื่องหมาย # ออกจากต้นบรรทัด บันทึกไฟล์ แล้ว restart Apache อีกครั้ง

สำหรับผู้ใช้ XAMPP ให้เปิดไฟล์ C:\xampp\apache\conf\httpd.conf ด้วย Text Editor

การแก้ไขของ XAMPP

ค้นหาคำว่า mod_rewrite เมื่อพบแล้ว ให้นำเครื่องหมาย # ออกจากต้นบรรทัด บันทึกไฟล์ แล้ว restart Apache อีกครั้ง

เท่านี้ก็จะสามารถปรับแต่ง Permalinks ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการแล้วหล่ะครับ

สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์

สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ (File Permission) คือการกำหนดสิทธิ์ว่าไฟล์/โฟลเดอร์ใดอ่านได้ เขียน(แก้ไข)ได้ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละระบบจะไม่เหมือนกัน บางระบบก็ไม่ต้องไปกำหนดค่าใด ๆ แต่บางระบบต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์/โฟลเดอร์ด้วย หากไม่กำหนด เมื่อมีการเข้าถึง ก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่ได้กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ เช่น เมื่ออัพโหลดไฟล์แล้ว จะปรากฏข้อความว่า

Unable to create directory /home/user/public_html/wp-content/uploads/2008/11. Is its parent directory writable by the server?

ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่ได้กำหนดสิทธิ์ให้โฟลเดอร์ uploads นั้นเขียนได้นั่นเอง และปัญหาที่เกิดจากการไม่กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์นี้มีอีกหลายอย่าง เช่น การแก้ไขธีมผ่านทาง Theme Editor และการปรับปรุงรูปแบบของ ลิงก์ถาวร (Permalinks)
Continue reading →