เปิด Multi-Site ใน WordPress 3.0

เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าใน WordPress 3.0 นี้ได้รวมเอา WordPress MU เข้ามาไว้ด้วยกันแล้ว ทำให้เราสามารถเปิดเป็นผู้ให้บริการบล็อกได้ หรือทำให้เรามีบล็อกหลาย ๆ บล็อกได้ โดยการติดตั้ง WordPress เพียงครั้งเดียว หรือที่เรียกว่า Multi-Site นั่นเอง

หลาย ๆ เว็บก็แนะนำการทำ multi-site ด้วยการแก้ไขไฟล์ wp-config.php, .htaccess สร้างโฟลเดอร์ blogs.dir ใน /wp-content กันไปบ้างแล้ว แต่ในวันนี้ ผมขอแสดงการทำ multi-site ในรูปแบบวีดีโอกันบ้าง และที่สำคัญง่ายครับ ไม่ต้องแก้ไขแบบเดิม ๆ เขามีเครื่องมือให้ใช้ ก็ใช้ ๆ กันหน่อยครับ ไหน ๆ เขาก็เขียนปลั๊กอินกันมาแล้ว ส่วนจะง่าย หรือยากประการใด ชมได้ในวีดีโอเลยครับ

Continue reading →

WordPress 3 รุ่น alpha

ขณะนี้ WordPress 3 ยังอยู่ในรุ่น alpha รุ่น 3 นี้ก็ได้เพิ่มระบบ multi-site ขึ้นมา (ถ้า WordPress Mu จะเรียก Multi-Users) ทำให้ WordPress รุ่น 3 นี้ สามารถเพิ่มบล็อกได้หลาย ๆ บล็อกโดยการติดตั้งครั้งเดียว (เหมือนกับ WordPress Mu)

ท่านสามารถดาวน์โหลด WordPress nightly build มาทดสอบกันได้ครับ สำหรับรายการที่จะเปิดระบบ Multi-Site นั้น ปกติเคยมีเมนู Network ให้เลือกเพื่อปรับแต่งระบบ Multi-Site แต่ ณ บัดนี้ เมนูนั้น ไ่ม่มีให้เห็นแล้ว (หากใครเคยลงเล่น nightly build รุ่น ก่อน ๆ จะทราบ) แต่เราสามารถเปิดเมนู Network ได้ โดยการเพิ่มบรรทัด

define('WP_ALLOW_MULTISITE', true);

ไปในไฟล์ wp-config.php เมื่อเพิ่มแล้วเมนู Network จะอยู่ภายใต้หัวข้อ Tools ลองทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่ระบบแจ้งไว้ ท่านก็จะสามารถเปิดบล็อกได้หลาย ๆ บล็อกแล้วหล่ะคัรับ

ในรุ่นนี้ ธีมเริ่มต้นนั้นได้เปลี่ยนใหม่แล้วเป็นธีม Twenty Ten ตามที่ผมได้เคยเขียนไว้แล้ว และลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ คือหน้าเข้าสู่ระบบนั้น หากท่านป้อนชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านไม่ถูกต้อง มันจะสั่น ๆ ดูแล้วก็แปลก ๆ กว่าแต่ก่อน โดยรวมนั้น ผมก็ทดสอบเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในรุ่นเต็ม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีก ดังนั้น ก็ลองทำความคุ้นเคยกันก่อนก็ไม่เสียหายครับ

หน้าต่างการติดตั้งโปรแกรมในรุ่นนี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย นั่นคือ เราสามารถกำหนด ชื่อผู้ใช้ (ผู้ดูแลระบบ) และรหัสผ่านได้เองแล้วหล่ะครับ หลายท่านคงจะชื่นชอบเป็นแน่ แต่ถ้ายังนึกชื่อผู้ใช้สำหรับดูแลระบบไม่ออก ก็ใช้ admin เดิมนั่นแหล่ะ เขาก็เตรียมมาไว้ให้เหมือนกัน เผื่อผู้ใช้ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี….

การทำ virtual host

ในการจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ด้วยโปรแกรมต่าง ๆ เช่น AppServ หรือ XAMPP เป็นต้นนั้น ปกติแล้วจะได้เพียงแต่ localhost เท่านั้น นั่นหมายความว่า จะดูเว็บแต่ละครั้งก็ต้องพิมพ์ http://localhost อย่างเดียว จะทำเว็บหลาย ๆ เว็บก็สร้างโฟลเดอร์ย่อยเอา ทำ WordPress แยกกัน 2 เว็บแบบเรียกโดเมนต่างกันก็ไม่ได้ ต้องผ่าน localhost อย่างเดียว อยากทดสอบเว็บ joomla กับ WordPress ต่างกันก็ไม่ได้ สุดท้าย ก็ localhost เหมือนเดิม

บทความนี้ จะสอนให้คุณทำ virtual host สามารถเรียกเว็บได้จากชื่อต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้เลย เช่น ทำเว็บ WordPress ก็เรียก http://mywordpress หรือ ทำเว็บ joomla ก็เรียก http://myjoomla ได้เลย หรือจะเรียกแบบโดเมนจริง ๆ ก็ยังทำได้ จะทำกี่โดเมนก็ได้ จะเก็บข้อมูลไว้ในไดรฟ์เดียวกันหรือต่างไดรฟ์ก็ได้ สะดวกในการทำเว็บต่าง ๆ หรือการนำข้อมูลจาก Online มาเป็น Offline ก็ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
Continue reading →