Autosave คืออะไรใน WordPress

autosave ใน WordPress นั้น คือการบันทึกบทความที่เราทำการแก้ไขโดยอัตโนมัติทุก ๆ ช่วงเวลาที่กำหนด ค่าเริ่มต้นคือ 60 วินาที ตัวเลขในการระบุเวลา มีหน่วยเป็นวินาที แต่เราสามารถกำหนดค่าเป็นอย่างอื่นได้ โดยกำหนดไว้ใน wp-config.php

เมื่อมีการบันทึกอัตโนมัติ WordPress จะสร้างเรคอร์ด (record) ในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เรคอร์ด/บทความ ดังนั้นข้อมูลสูงสุดของ autosave คือ 1 เรคอร์ด/บทความ ซึ่งจะต่างจาก revision ซึ่งหากเราไม่กำหนด มันจะสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามที่เราได้ทำการแก้ไขข้อมูล
Continue reading →

ย้ายโฟลเดอร์ wp-content

โฟลเดอร์ wp-content จะอยู่ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress และในโฟลเดอร์นี้จะเก็บปลั๊กอิน, ธีมและไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดเข้าไปบนบล็อก ตั้งแต่ WordPress 2.6 เป็นต้นมา เราสามารถย้ายโฟลเดอร์ wp-content นี้ไว้นอกโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress ได้ โดยทำการแก้ไขไฟล์ wp-config.php และใส่โค้ดรูปแบบดังต่อไปนี้

PGNvZGU+DQpkZWZpbmUoICdXUF9DT05URU5UX1VSTCcsICfguYDguKrguYnguJnguJfguLLguIfguILguK3guIfguYLguJ/guKXguYDguJTguK3guKPguYwgd3AtY29udGVudCcpOw0KPC9jb2RlPg==

เช่น เราต้องการย้ายโฟลเดอร์ wp-content ไปไว้ที่ http://mydomain.com/private/wp-content ให้เปิดไฟล์ wp-config.php แล้วเพิ่มบรรทัด

PGNvZGU+DQpkZWZpbmUoICdXUF9DT05URU5UX1VSTCcsICdodHRwOi8vbXlkb21haW4uY29tL3ByaXZhdGUvd3AtY29udGVudCcpOw0KPC9jb2RlPg==

เส้นทางของ url นั้น ไม่ต้องใส่ / (backslash) ปิดท้าย สำหรับประโยชน์ของการย้ายโฟลเดอร์นี้ เช่น เพื่อสะดวกในการสำรองข้อมูล หรือการอัพเกรดรุ่นของ WordPress เพราะข้อมูลในโฟลเดอร์นี้ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เมื่ออัพเกรด WordPress และเมื่อย้ายโฟลเดอร์แล้วก็อย่าลืมทำการ chmod 777 ของโฟลเดอร์ uploads โฟลเดอร์ themes และไฟล์ที่อยู่ด้านในด้วยนะครับ เดี๋ยวจะอัพโหลดไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ uploads ไม่ได้ รวมทั้งแก้ไขไฟล์ธีมไม่ได้

การปรับแต่งไฟล์ wp-config.php

ขั้นตอนนี้เป็นการปรับแต่งไฟล์ wp-config.php ซึ่งจะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับฐานข้อมูล เพื่อ WordPress จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL รวมทั้งสร้างตารางฐานข้อมูลด้วย

เข้าไปที่โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ ของ WordPress ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ wordpress หรือโฟลเดอร์อื่น ๆ ที่คุณกำหนดไว้ ที่ root site เช่น C:\AppServ\www\wordpress แล้วใช้โปรแกรม Text Editor เช่น EditPlus หรือ Notepad เปิดไฟล์ wp-config-sample.php ขึ้นมา

wp-config01

แล้วแก้ไขข้อมูลดังนี้

  • DB_NAME : ชื่อฐานข้อมูล ในตัวอย่างนี้ใช้ชื่อ “blog” (ตามที่สร้างในขั้นตอนสร้างฐานข้อมูล)
  • DB_USER : ผู้ใช้ฐานข้อมูล ใช้ “root” (AppServ และ XAMPP ผู้ใช้คือ “root”)
  • DB_PASSWORD : รหัสผ่านของผู้ใช้ root หากใช้ AppServ รหัสผ่าน คือรหัสผ่านที่ตั้งเมื่อตอนติดตั้งโปรแกรม แต่หากใช้ XAMPP ไม่ต้องใช้รหัสผ่าน ให้ปล่อยว่างไว้ (ลบข้อมูลเดิมออก)
  • DB_HOST : ชื่อโฮสต์ (ปกติแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลใช้ localhost ตามเดิม)

เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว ให้บันทึกไฟล์เป็น wp-config.php

wp-config02

ในกรณีที่ใช้ NotePad ให้เลือก File | Save As… แล้วให้พิมพ์ตามรูปภาพคือ “wp-config.php” แล้วคลิกปุ่ม Save

ตอนนี้ถือว่า ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการติดตั้งบล็อก เพื่อเริ่มใช้งานกันเสียที หลังจากที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาหลายขั้นตอนแล้ว