WordPress 2.8.5 มาแล้วครับ

WordPress 2.8.5 มาแล้วครับพี่น้อง เพิ่งอัพเกรดจาก 2.7.1 มาเป็น 2.8.4 เมื่อวันจันทร์นี้เอง (19 ต.ค. 52) 2 วันพวกอัพเกรดหนีไปอีกแล้ว ตามครับ ต้องตามอัพเกรด เพื่อให้บล็อกมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ WordPress 2.8.5: Hardening Release

WordCamp Bangkok 2009

WordCamp ครั้งที่ 2 ของประเทศไทย WordPress Bangkok 2009 จะเริ่มขึ้นอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2552 นี้ มีเพื่อน ๆ จองตั๋วไปงานกันเรียบร้อยแล้ว สนใจก็ ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน กันได้เลยครับ

เครื่องมือพื้นฐานในการใช้ WordPress

จากที่ได้แนะนำเพื่อนๆ ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตั้งแต่พื้นฐานติดตั้ง WordPress จนถึงการอัพโหลดฐานข้อมูลจากโฮสต์เดิมเข้าโฮสต์ใหม่ ทุกอย่างจนสามารถเผยแพร่บล็อกได้ ทำให้ผมมานั่งคิดว่า จริง ๆ แล้วผมเล่นตลาด WordPress ระดับกลางและสูงจนเกินไป เทคนิคแพรวพราว แต่ถ้าพูดถึงระดับเริ่มต้นแล้ว ผมสอบตกไปเลยครับ ไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับผู้เริ่มต้นเลย จึงคิดว่า ผู้ใช้ที่เริ่มต้น นับ 0 (ศูนย์) จะทำอย่างไร ถึงจะมีบล็อกเขากับได้เหมือนกับคนเก่ง ๆ ทั่วไป
Continue reading →

ควบคุมการแสดงผลหน้าบล็อกด้วยแท็ก more

โดยปกติแล้ว การแสดงผลบทความที่หน้าบล็อก จะเป็นการแสดงเต็มหน้าบทความ และเมื่อมีการกำหนดให้แสดงบทความที่หน้าบล็อก 10 บทความ และบทความต่าง ๆ มีความยาวของบทความมาก มีทั้งรูปภาพและวีดีโอ จะทำให้ดาวน์โหลดหน้าบล็อกโดยใช้เวลานาน แต่เราสามารถควบคุมการแสดงผลที่หน้าบล็อกได้ ซึ่งจะทำให้หน้าบล็อกนั้นสามารถดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว
Continue reading →

กำหนดสิทธิ์ไฟล์และโฟลเดอร์หลังติดตั้ง WordPress

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากติดตั้ง WordPress บนโฮสติ้งที่ใช้ Control Panel ที่ไม่ใช่ Cpanel เช่น อัพโหลดไฟล์ไม่ได้ ตั้ง Permalinks ไม่ได้ หรือแก้ไขไฟล์ธีมไม่ได้เป็นต้น

วันนี้จะเสนอวิธีแก้ไขง่าย ๆ สำหรับปัญหาดังกล่าว ซึ่งควรที่จะศึกษาไว้ และ/หรือควรทำหลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จ นั่นคือ

  1. สร้างโฟลเดอร์ uploads ไว้ในโฟลเดอร์ wp-content แล้วทำการ chmod 777 ให้กับโฟลเดอร์ uploads ด้วย เพื่อทำให้เราสามารถอัพโหลดไฟล์ต่าง ๆ ได้ ไม่มีปัญหา
  2. ทำการ chmod 777 ให้กับไฟล์และโฟลเดอร์ธีมต่าง ๆ ในโฟลเดอร์ wp-content/themes เพื่อเราจะสามารถแก้ไขไฟล์ธีมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกผ่าน Dashboard ของ WordPress
  3. สร้างไฟล์ .htaccess เปล่า ๆ แล้วอัพขึ้นไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress หรือไว้ตาม Blog URL แล้วทำการ chmod 777 ให้กับไฟล์ .htaccess เพื่อใช้สำหรับในการตั้งค่า Permalinks จะทำให้ WordPress ทำการอัพเดท Permalinks ได้ทันที

ปัญหาเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นหากใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลติดตั้ง WordPress อ้อ! ลืมไป… ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หากมีปัญหาเรื่อง Permalinks ให้ไปเปิด Mod_Rewrite ใน Apache ก่อนครับ