การตั้ง Cache
การใช้ WinRoute เป็น Proxy Server และเปิดให้ใช้ cache ด้วย เมื่อผู้ใช้มีการเรียกเข้าชมเว็บเพจต่างๆ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกเก็บไว้ใน cache หากผู้ใช้คนเดิมหรือผู้ใช้อื่นมีการเรียกเว็บเพจนั้นซ้ำอีก Browser ก็จะดึงข้อมูลจาก cache ให้กับผู้ใช้แทนที่จะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตโดยตรง ทำให้ได้รับข้อมูลรวดเร็วกว่าดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตและลดแบนด์วิดธ์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย หากใช้ WinRoute เป็น Proxy อย่างเดียวแต่ไม่ได้เปิด cache ไว้ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดเว็บเพจ,รูปภาพต่างๆ ก็จะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตโดยตรง
ใน WinRoute จะเก็บ cache ไว้ในไฟล์เพียงไฟล์เดียว ช่วยให้คุณประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล cache หากมีการเก็บ cache แบบแยกไฟล์กัน ไฟล์มีขนาดเล็กและใช้ FAT16 ก็จะทำให้เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บมาก
การตั้งค่าเพื่อให้ WinRoute ทำหน้าที่เก็บข้อมูล cache ให้คลิกที่แท็บ Cache
- Cache Enabled
เป็นตัวสลับว่าจะเปิดใช้ cache หรือไม่ หากทำเครื่องหมายถูก เป็นการเปิดใช้ cache หากไม่ทำเครื่องหมายถูก เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเรียกโดยตรงจากอินเทอร์เน็ต - Cache directory
ไดเร็คทอรี่ที่จะใช้สำหรับเก็บ cache - Cache size
ขนาดของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บ cache ซึ่งมีค่าระหว่าง 1-3072 เมกะไบต์ - Memory cache size
ขนาดของเนื้อในหน่วยความจำที่จะใช้สำหรับเก็บ cache มีค่าระหว่าง 1-32643 กิโลไบต์
- Continue Aborted
หากทำเครื่องหมายถูก Proxy Server จะทำการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ตจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ แม้ Browser ของผู้ใช้จะยกเลิกการร้องขอแล้วก็ตาม (ผู้ใช้กดปุ่ม Stop หรือทำการลิงก์ต่อไปยังหน้าอื่นโดยที่ไม่รอให้หน้าปัจจุบันดาวน์โหลดเสร็จเสียก่อน) เมื่อผู้ใช้คนอื่นเข้าชมในหน้าเดียวกันก็จะทำให้เข้าชมได้เร็วขึ้น
- Keep Aborted
เป็นการสั่งให้ Proxy Server ทำการ cache เว็บเพจหรือรูปภาพที่ยังดาวน์โหลดไม่สมบูรณ์เอาไว้ด้วย เพื่อหากมีการกลับเข้ามาชมเว็บเพจเดิม ก็จะมีความเร็วขึ้น (ดาวน์โหลดต่อส่วนที่ยังดาวน์โหลดไม่สมบูรณ์) หากทำเครื่องหมายถูกหน้า "Continue Aborted" ตัวเลือกนี้จะเลือกไม่ได้ - Cache FTP directory only
เมื่อมีการดูไฟล์ใน FTP Server ใช้ตัวเลือกนี้เพื่อให้ cache เฉพาะรายชื่อไดเร็คทอรี่เท่านั้น หากคุณต้องการ cache ไฟล์ที่ดาวน์โหลดจาก FTP Server ก็ไม่ต้องทำเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ - Use server supplied Time-to-Live
Time-to-Live (TTL - อายุไข) คือช่วงระยะเวลาที่เว็บเพจจะถูกพิจารณาว่าล้าสมัย และต้องไปดาวน์โหลดมาใหม่จาก server (เช่น เว็บเพจมีอายุ 10 วัน หากเลยกำหนด ก็ให้ถือว่าข้อมูลล้าสมัย ต้องไปดาวน์โหลดจาก server อีกครั้ง) ตัวเลือกนี้จะเป็นการสั่งให้ proxy server ของ winroute ทำตามคำสั่ง TTL ที่มากับเว็บเพจแต่ละหน้า หากเว็บเพจไม่ได้มีการกำหนด TTL ไว้ ก็จะใช้ TTL เริ่มต้นของ proxy เช่น กำหนด TTL ว่า cnn.com มี TTL เพียง 1 วัน หากเกินกำหนด ก็ให้ดาวน์โหลดจาก server มาใหม่ แต่ abc.com ไม่ได้กำหนด TTL ไว้ ส่วน proxy มีการกำหนดค่าเริ่มต้น TTL ไว้ 10 วัน ดังนั้น TTL ของ abc.com จึงเป็น 10 วันตามค่าของ proxy (อ่าน การตั้ง Time-to-Live เพิ่มเติม) - Ignore server Cache-Control directive
หากเนื้อหาของเว็บเพจมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก ผู้เขียนเว็บเพจก็อาจจะใช้คำสั่ง "no-cache" คือไม่ให้บันทึกหน้านี้ไว้ใน cache เวลาเข้าชมจะต้องมีการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตทุกครั้ง (เพื่อให้ได้ข้อมูลล่าสุดเสมอ) บางเว็บก็อาจจะใช้คำสั่งนี้บ่อยเกินไป ทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก proxy server อย่างแท้จริง หากคุณต้องการให้ proxy server เพิกเฉยต่อคำสั่ง "no-cache" ให้ทำเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ - Max. Object Size
ขนาดสูงสุดของวัตถุ (เว็บเพจ,รูปภาพ) ที่จะเก็บไว้ใน cache วัตถุมีขนาดใหญ่กว่าจะถูกส่งไปยัง Browser ของผู้ใช้ แต่จะไม่ถูกบันทึกไว้ใน cache
1 มิถุนายน 2545