การตั้ง Time-to-Live
Time-to-Live คือช่วงระยะเวลาที่จะกำหนดว่าเว็บเพจนั้นมีความทันสมัยอยู่หรือไม่ หากไม่ทันสมัยก็ให้ดาวน์โหลดมาจาก server คุณอาจจะกำหนดค่า TTL เริ่มต้นที่จะถูกใช้ถ้าไม่ได้มีการกำหนด TTL ให้กับเว็บเพจ หรือถ้าคุณตัดสินใจที่จะเพิกเฉยต่อค่า TTL ของ server (ดูตัวเลือก " Use server supplied Time-to-Live" ใน การตั้ง Cache")
- Protocol Specific Settings
กำหนดค่าเริ่มต้น Time-to-Live เป็นจำนวนวัน สำหรับโปรโตคอล HTTP,FTP และ Gopher ซึ่งหากเว็บเพจใดไม่ได้มีการกำหนดค่า TTL ไว้ก็จะใช้ค่า TTL เริ่มต้นนี้ - URL Specific Settings
ถ้าคุณต้องการที่จะตั้งค่า TTL เฉพาะบางโดเมน,เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือเฉพาะเว็บเพจ ให้ป้อน URL แต่ละรายการในช่องนี้ โดยคุณตั้ง TTL เป็นวันและ/หรือชั่วโมง ในการป้อน URL คุณสามารถใช้ดอกจันทร์เป็น wild card ก็ได้ หรือคุณจะป้อนเฉพาะข้อความย่อยก็ได้เช่น "ftp" หมายถึงทุก server ที่มีคำว่า "ftp" อยู่ในชื่อของ server
หมายเหตุ : หากคุณทำเครื่องหมายถูกหน้า "User server supplied Time-to-Live" บนแท็บ Cache "Server supplied Time-to-Live" จะมีความสำคัญกว่า "URL Specific Settings"
การตั้งค่า TTL สำหรับแต่ละเว็บเพจให้กดปุ่ม Add ป้อน URL ที่ต้องการจะกำหนด TTL ในช่อง URL แล้วกดปุ่ม OK หากไม่ต้องการตั้งค่า TTL ให้กับเว็บเพจหรือไม่ต้องการใช้เว็บเพจใช้ค่า TTL เริ่มต้นของ proxy ก็ให้ป้อน เป็น 0 วัน 0 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า จะไม่มีการเก็บเว็บเพจนั้นไว้ใน cache เมื่อมีการเรียกเว็บเพจครั้งใด ก็จะเรียกโดยตรงไปยัง server เช่น การใช้ webbase email ต่างๆ หากไม่ได้กำหนด TTL เป็น 0 วัน 0 ชั่วโมง (no cache คือไม่ให้ข้อมูลเก็บไว้ใน cache) การเปิดอีเมล์ของคนที่ 2 หรือ 3 ก็อาจจะพบอีเมล์ของคนแรกได้ ดังนั้นเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์แบบ webbase email ควรที่จะมีการตั้ง TTL เป็นแบบ no cache เพื่อให้สามารถเช็คอีเมล์จาก server โดยตรง ไม่ใช่เช็คอีเมล์จาก cache
จากตัวอย่าง เป็นการตั้งค่า TTL โดย เมื่อมีการเข้าเว็บไซต์ dailynews.co.th เป็นการเรียกข้อมูลจาก server โดยตรง ส่วน webattack.com และ ruencom.com หากข้อมูลที่เก็บไว้ใน cache มีอายุไม่เกิน 1 วันก็ให้เรียกจาก cache หากเกินกว่า 1 วันก็ให้เรียกจาก server ส่วนเว็บไซต์ที่เหลือนอกจากนี้ หากมีอายุไม่เกิน 3 วันก็ให้เรียกจาก cache หากมีอายุเกินก็ให้เรียกจาก server
1 มิถุนายน 2545