ตอนนี้ WordPress กำลังถูกดาวน์โหลดเกือบจะครบ 1 ล้านครั้งแล้วครับพี่น้อง หลังจากเปิดให้ดาวน์โหลด รุ่น 2.7 เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 11 ธันวาคม 2551 (ตามเวลาในประเทศไทย)
Continue reading →
การย้ายบล็อก WordPress สู่โฮสต์ใหม่
การใช้ WordPress ไปนาน ๆ อาจจะต้องการที่จะเปลี่ยนโฮสต์ใหม่ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ให้บริการไม่ดี, ช้า, อยากได้พื้นที่มากขึ้น, อยากได้แบนด์วิดธ์มากขึ้น, อยากได้ฐานข้อมูลมากขึ้น, อยากได้โฮสต์ราคาถูก, ไปใช้ของฟรี จะเห็นว่า ด้วยสาเหตุหลายประการจริง ๆ
การย้าย WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่นั้น ก็ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดไปล่วงหน้า บางทีกลัวเพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่จริง ๆ แล้วง่ายครับ เพราะจริง ๆ แล้ว WordPress จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนของไฟล์ติดตั้ง (รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเพิ่มเข้าไป เช่นปลั๊กอิน, ธีม เป็นต้น) และอีกส่วนคือ ส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเขียนไป เช่นบทความ ข้อมูลเพจ (page) และความเห็นต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ในฐานข้อมูล MySQL เราก็สำรองข้อมูลทั้ง 2 ส่วนนี้ไป และปรับแต่งส่วนอื่น ๆ อีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง ทุกอย่างก็ราบรื่นแล้วหล่ะครับ
การย้ายบล็อกนี้ ควรที่จะเช่าโฮสต์ใหม่รอไว้ก่อน ก่อนที่จะย้าย และมีขั้นตอนในการย้ายบล็อก WordPress ดังนี้
- สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
- สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า) มาไว้ที่เครื่องของเรา
ก่อน - สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
- นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
- แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นหากใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน)
- อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manger จะเร็วกว่า)
- ไปยังส่วนจัดการโดเมนของผู้ให้บริการจดโดเมนที่เราได้จดโดเมนไว้ เปลี่ยน NameServer ให้เป็น NameServer ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่
- รอ NameServer อัพเดท ไม่เกิน 24 ชม. ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนโฮสต์ใหม่ได้แล้ว
ขั้นตอนตามที่แสดงมา คงช่วยให้ผู้ที่ต้องการย้ายโฮสต์ ได้คลายกังวลและศึกษาเป็นแนวทางได้ หากมีข้อสงสัยอะไร สอบถามเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นเข้ามาได้ครับ
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 27 มกราคม 2552
คำแนะนำ
เมื่อสำรองข้อมูลมาแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย โดยการขยายและเปิดดูข้อมูล หากมีปัญหาให้ทำการสำรองข้อมูลอีกครั้ง
สวัสดีปีใหม่ 2552
สวัสดีปีใหม่ครับทุก ๆ ท่าน ขอให้ผู้ชมทุก ๆ ท่านมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรง ขอให้ประสบความสำเร็จทั้งเรื่องการงานและเรื่องส่วนตัว พรใดประเสริฐ พรใดเลิศ ขอจงอยู่คู่กับทุก ๆ ท่านตลอดไป
ย้ายบล็อก WordPress ข้ามโฮสต์ ต่างโฟลเดอร์
การย้ายบล็อก WordPress นั้น บางทีอาจจะดูเหมือนกับเป็นเรื่องไกลตัว ไม่มีความจำเป็น แต่การได้เรียนรู้เอาไว้บ้าง เป็นสิ่งที่ดีไม่น้อย วันนี้ก็เลยเขียนบทความการย้ายบล็อก WordPress มาให้ได้อ่านกัน เป็นกรณีศึกษา ดูไว้เป็นแนวทาง สิ่งที่ผมทำนี้ เป็นการย้ายข้อมูลบล็อกจาก XirBit.Com นี้ ไปเก็บไว้อีกโดเมนหนึ่ง ที่อยู่คนละโฮสต์ ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ blog ของโดเมน ก็คือจะเป็น http://newdomain.com/blog แบบนี้แหล่ะครับ (ไม่แน่ใจว่าจะมีใครทำแบบนี้หรือเปล่า) ข้อมูลเหล่านี้สามารถไปประยุกต์ใช้ในการย้ายบล็อก WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่ได้ไม่ยาก เพียงแต่ขั้นตอนแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น
ขั้นตอนการย้ายบล็อก WordPress ข้ามโฮสต์ ต่างโฟลเดอร์ ทำมีดังนี้
- สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
- สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า)
- สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
- นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
- แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน) เพิ่มข้อมูล define(‘WP_SITEURL’, ‘http://newdomain.com/blog’); และ define(‘WP_HOME’, ‘http://newdomain.com/blog’); เข้าไปในไฟล์ wp-config.php ด้วย เป็นการกำหนด WordPress Url และ Blog Url ที่เว็บใหม่ โดยผ่านทางไฟล์ wp-config.php ซึ่งการตั้งค่านี้ จะมีความสำคัญกว่าการแก้ไขในฐานข้อมูล และ WordPress จะใช้ค่านี้เป็นหลัก และข้อมูลส่วนนี้ในเมนู Settings->General นั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งการใช้วิธีนี้ ทำให้ไม่ต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูล
- อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manager จะเร็วกว่า)
- ติดตั้งปลั๊กอิน Velvet Blues Update URLs โดยปลั๊กอินตัวนี้จะทำการปรับปรุง URLs ลิงก์ต่าง ๆ จากเว็บเดิมทั้งหมดให้เป็น URLs ของเว็บใหม่โดยที่เราไม่ต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูลโดยตรง จากนั้น activate ปลั๊กอินแล้วเข้าไปที่เมนู Settings->Update Urls ในช่อง Old URL ให้ป้อน WordPress URL เดิม หรือ URL ที่ติดตั้ง WordPress ของโฮสต์เก่า (http://xirbit.com/blog) ส่วนในช่อง New URL ป้อน WordPress URL บนโฮสต์ใหม่ (http://newdomain.com/blog) แล้วคลิกปุ่ม Update URLs
เท่านี้เราก็สามารถย้ายข้อมูลบล็อก WordPress ได้แล้วครับ ปลั๊กอิน Velvet Blues Update URLs ตัวนี้ เรายังสามารถนำมานำประยุกต์ใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้อีกเช่น ในกรณีนำข้อมูลจาก Blog online มาติดตั้งไว้ในเครื่องของเรา หรือการนำข้อมูลบล็อกจากเครื่องของเรานำไปไว้ใน Blog online หรือแม้กระทั่งการย้ายโฟลเดอร์ในการติดตั้ง WordPress
ควบคุม Revisions ด้วยปลั๊กอิน
Revisions คือข้อมูลประวัติการแก้ไขเอกสาร ทั้ง Post และ Page ค่าเริ่มต้นของ WordPress ก็คือจะเก็บข้อมูลที่มีการแก้ไขไว้ และผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ทั้งการเปิด/ปิด Post Revisions และการลบข้อมูล Revisions ต่าง ๆ ออกจากบล็อก
คราวนี้ ผมจะมาพูดถึงเรื่องการใช้ปลั๊กอินเข้าช่วยในการควบคุม Revisions ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ปลั๊กอินที่เราจะนำมาใช้นี้คือ Revision Control ปลั๊กอินตัวนี้ ใช้ควบคุม Revisions ทั้งของ Post และ Page เป็นไปตามที่เราต้องการได้ คือ กำหนดค่าโดยรวมหรือกำหนดเฉพาะ Post/Page ได้อีกด้วย
Continue reading →