ปิด Trackbacks ในบล็อกตนเอง

ปกติแล้ว การเขียนบทความแล้วมีการการอ้างอิงหรือทำลิงก์ไปยังบทความในบล็อกอื่น ๆ ที่รองรับ trackbacks, pingbacks จะมีลิงก์ไปปรากฏอยู่ในส่วนของความเห็นของบทความที่ถูกอ้างอิง เช่น นางสาว A เขียนบทความแล้วมีการอ้างอิงถึงบทความที่นางสาว B เขียนไว้ ในบทความของนางสาว B ก็จะมีลิงก์ที่โยงไปถึงบทความของนางสาว A ที่ได้เขียนอ้างอิงเอาไว้ปรากฏอยู่ โดยลิงก์นี้จะปรากฏอยู่ในส่วนของความเห็นในบทความของนางสาว B นี่คือระบบ trackbacks เป็นการสร้างลิงก์โดยอัตโนมัติ ทำให้เราทราบได้ว่า ในบทความนั้น ๆ มีใครเขียนถึงหรืออ้างอิงบทความของเราบ้าง (นี่ยังไม่รวมถึงการอ้างอิงแบบ manual ที่ต้องใส่ลิงก์ trackbacs ในช่องตัวเลือกของการเขียนบทความ)

การสร้างลิงก์ trackbacks นี้ มันสร้างโดยอัตโนมัติไว้เว้นแม้กระทั่งในบล็อกของเราเอง คือ หากเราสร้างลิงก์ไปยังบทความในบล็อกของเราเอง (เพื่อให้ผู้ชมได้อ่านบทความเพิ่มเติม) มันก็จะสร้าง trackbacks ให้ด้วย บางทีเราก็อยากให้มีการ trackbacks ในบล็อกของเราเอง

แต่หากเราไม่ต้องการให้มีการสร้าง trackbacks ในบล็อกของเราเอง เราจะทำอย่างไรดี??? ทางออกก็คือ สร้างลิงก์โดยที่ไม่ต้องใส่ชื่อโดเมนลงไปใน url ของบล็อก เช่น

Post Revisions

ตัวอย่างนี้เป็น url ที่ลิงก์ไปยังบทความ “Post Revisions” ซึ่งหากเราใส่ url นี้เพื่อลิงก์ไปยังบทความ “Post Revisions” ตรง ๆ แบบเดิม มันก็จะสร้าง trackbacs ไปยังบทความ “Post Revisions” ด้วย แต่การไม่ให้มี trackbacks ต้องไม่ใส่ชื่อโดเมนเข้าไป เป็น

2008/12/25/180

คือใส่เฉพาะส่วนของ url ที่ไม่รวม blog url (จากตัวอย่างที่ยกมานี้ blog url คือ http://xirbit.com )เข้าไปด้วย หรืออีกตัวอย่างคือ

xampp002.jpg

เราก็ใส่เฉพาะ

?p=31

นี่เป็นวิธีที่ป้องกันการ trackbacks ในบล็อกของเราเอง โดยที่เราไม่ต้องใช้ปลั๊กอินใด ๆ ทั้งสิ้น

Post Revisions

Post Revisions คือ ข้อมูลประวัติการแก้ไขบทความ ซึ่งใน WordPress มีตั้งแต่ 2.6 ตามที่ได้เขียนไปแล้วในบทความก่อน ๆ นั้น โดยจะเป็นค่าเริ่มต้นในการใช้ WordPress คือ มันจะเก็บข้อมูลการแก้ไขบทความไปเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้ฐานข้อมูลใหญ่ขึ้นแน่นอน การปิดการใช้ Post Revisions ทำดังนี้

define(‘WP_POST_REVISIONS’, false);

นำโค้ดนี้ไปใส่ไว้ใน wp-config.php มันก็จะยกเลิกการเก็บข้อมูลการแก้ไขบทความแล้วหล่ะครับ (อันนี้ก็พูดไปแล้ว)

การจะทำให้ WordPress กลับมาใช้ Post Revisions ตามเดิม ก็เปลี่ยนจาก false เป็น true หรือไม่ ก็ลบโค้ดนั้นทิ้ง ทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิมแล้ว แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การกำหนดได้ว่า จะให้มันเก็บข้อมูลไว้ได้กี่ครั้ง คือเราสามารถควบคุม WordPress ให้เก็บข้อมูลการแก้ไขบทความ เป็นจำนวนครั้งได้ ทำดังนี้

define(‘WP_POST_REVISIONS’, จำนวนครั้ง);

นำโค้ดนี้ไปใส่ไว้ใน wp-config.php โดยตรง “จำนวนครั้ง” นั้นให้เปลี่ยนเป็นจำนวนตัวเลขที่คุณต้องการ เช่น

define(‘WP_POST_REVISIONS’, 3);

เป็นการเก็บประวัติการแก้ไขไว้เพียง 3 ครั้งเท่านั้น การใส่เลข “0” (ศูนย์) จะเป็นการปิดการเก็บข้อมูล (มีค่าเท่ากับ false) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับข้อมูลปัจจุบัน และข้อมูลเก่าที่มีการแก้ไขเท่านั้น หมายความว่าอย่างไร?

กล่าวคือ ข้อมูลเดิมทำการแก้ไขมาแล้ว 10 แล้วทำการกำหนดให้เก็บประวัติไว้เพียง 3 ครั้ง ดังนั้น บทความที่จะเขียนใหม่ต่อไป มันจะเก็บประวัติไว้สูงสุดเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ข้อมูลเดิม เก็บไว้ 10 ก็ยังอยู่ครบทั้ง 10 ครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เรากลับไปแก้ไขบทความเดิมที่เก็บประวัติไว้ 10 ครั้งนั้น เมื่อคุณบันทึกการแก้ไขลงไป ประวัติการแก้ไขนั้นก็จะถูกลบและเก็บไว้เพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ตามค่าการเก็บประวัติตามที่ได้กำหนดไว้ในไฟล์ wp-config.php

ส่วนการจะลบข้อมูลประวัติการแก้ไขบทความนั้น อ่านเพิ่มเติมได้จาก “ลดขนาดฐานข้อมูล

QuickPress เขียนด่วน

QuickPress คือคุณลักษณะใหม่ที่มีใน WordPress รุ่น 2.7 ที่จะช่วยให้เราสามารถเขียนบทความได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่เขียนบทความสั้น ๆ หรือเขียนบทความโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยเขียนต่าง ๆ การใช้ QuickPress ลดการโหลดเครื่องมือต่าง ๆ ในการเขียนบทความโดยที่เราไม่ต้องการและสามารถเขียนได้ทันทีหลังจากที่เข้าสู่ระบบของ WordPress

QuickPress เขียนบทความด่วน

เมื่อเข้าสู่ระบบของ WordPress ก็จะพบ QuickPress การใช้งานดังนี้

  • Title : ชื่อเรื่องของบทความ
  • Upload/Insert : ใช้สำหรับแทรกภาพ, วีดีโอ, เพลง เข้าไปในบทความ
  • Content : ช่องสำหรับป้อนเนื้อหาของบทความ
  • Tags : แท็กส์ของบทความ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
  • Save Draft : บันทึกบทความเป็นแบบฉบับร่าง ยังไม่เผยแพร่ เก็บไว้เพื่อกลับมาแก้ไขในภายหลัง
  • Cancel : ล้างข้อมูลที่ป้อนมาทั้งหมด ทั้งชื่อเรื่อง, เนื้อหา และแท็กส์
  • Publish : เผยแพร่บทความออกสู่หน้าบล็อก

เมื่อต้องการเขียนบทความและเผยแพร่สู่หน้าบล็อกก็เพียง

  1. ป้อนชื่อเรื่อง
  2. เขียนเนื้อหา
  3. ป้อนแท็กส์ (ถ้าต้องการ)
  4. คลิก “Publish”

เท่านี้บทความที่คุณเขียนก็จะปรากฏที่หน้าบล็อกแล้ว ส่วนบทความที่เขียนนี้ จะจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่ปริยาย ที่เราได้กำหนดไว้ในเมนู Settings->Writing ส่วน Default Post Category หากเราไม่เคยกำหนดเป็นอย่างอื่น ค่าเริ่มต้นคือ Uncategorized ซึ่งเราสามารถย้อนกลับมาแก้ไขเรื่องหมวดหมู่ของบทความนี้ได้ในภายหลัง

แต่หากคิดว่าบทความยังไม่สมบูรณ์และต้องการเก็บไว้และกลับมาแก้ไขในภายหลัง ให้คลิก Save Draft ชื่อบทความนั้นจะปรากฏอยู่ในส่วน “Recent Drafts” ที่อยู่ใต้ QuickPress นั่นเอง

Simple Tags รองรับ WordPress 2.7 แล้ว

จากที่เมื่อวานแจ้งข่าวเรื่อง WordPress 2.7 ได้ออกมาให้ชาวโลกได้ยลโฉมกันไปแล้ว รวมทั้งพูดถึงเรื่อง Simple Tags Plugins ที่ยังไม่สนับสนุน WordPress 2.7 นั้น ณ บัดนี้ ทางผู้พัฒนา Simple Tags ได้ออกรุ่น 1.5.8-2.7 มาแล้ว ซึ่งได้สนับสนุน WordPress 2.7 เรียบร้อยแล้วครับ

จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน….เอ๊า…ลงท้ายเป็นงี้ไปได้แฮะ :-)

WordPress 2.7 มาแล้วครับ

หลังจากที่รอคอย WordPress 2.7 มานานเป็นเดือน ๆ ที่ก่อนนั้นเคยบอกว่าจะออกวันที่ 7 พ.ย. (จำผิดหรือเปล่าหว่า….) แล้วก็ออกทั้ง beta (ไม่ใช่ครีมแก้สิว) มาจนถึง RC (ก็ไม่ใช่น้ำอัดลมอีกนั่นแหล่ะ) และวันนี้ ก็ออกมาเป็น WordPress 2.7 แล้วครับ ซึ่ง ณ ตอนเขียนบทความนี้ มีให้ดาวน์โหลดในหน้าดาวน์โหลดของ WordPress.Org แล้วหล่ะครับ แต่ในระบบ Dashboard ยังไม่ได้มีการเตือนให้อัพเกรดเลย

ดาวน์โหลด WordPress 2.7

ในส่วนเอกสารของ WordPress นั้นก็ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับรุ่น 2.7 ให้อ่านแล้ว หากคุณอยากทราบว่า WordPress 2.7 มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ก็คลิกเข้าไปอ่านได้

สำหรับ WordPress 2.7 นี้ผมก็รอคอยมาพอสมควร เพราะจะได้เริ่มโครงการที่วาดเอาไว้สักที อย่างน้อยก็คงอยู่ได้อีกหลาย ๆ เดือนเป็นแน่ ถ้ารุ่น 2.8 ออกมา เห็นวางแผนไว้ว่า มี.ค. ปีหน้า ถ้าเจอโรคเลื่อนแบบรุ่นนี้ ก็คง เม.ย. ปีหน้าหล่ะครับ

มีข้อแนะนำอีกอย่างครับ ก่อนการอัพเกรดเป็นรุ่น 2.7 นี้ ควรสำรองข้อมูลก่อนนะครับ เพราะปลั๊กอินบางตัว ไม่สนับสนุนครับ เช่น Simple Tags ตัวนี้ผมเคยแนะนำใช้ในการทำ Related Posts ไปแล้วนั้น ก็มีข้อความเตือนให้ไปใช้ Simple Tagging แทน ซึ่งผู้พัฒนาคนเดียวกันคือ Amaury BALMER

ในส่วนปลั๊กอินอื่น ๆ นั้น ก็ต้องลองใช้ดูนะครับ เท่าที่ลองทดสอบดูแล้ว ก็มีส่วนน้อยครับ ที่ไม่สนับสนุน และอีกอย่างหนึ่งก็คือ การปรับแต่ง Themes ให้สนับสนุนรุ่น 2.7 ทำอย่างไรนั้นก็ให้ลองเข้าไปศึกษากันดูนะครับ