รีแพร์ฐานข้อมูลใน WordPress 2.9

ในบางครั้งการใช้งานฐานข้อมูลไปอาจจะมีปัญหา ต้องการการรีแพร์ (repair) ฐานข้อมูล ใน WordPress 2.9 ได้เพิ่มสคริปต์สำหรับการรีแพร์ฐานข้อมูลมาให้ด้วย โดยไฟล์นี้อยู่ที่ /wp-admin/maint/repair.php การจะใช้งานสคริปต์นี้ได้ จะต้องเพิ่มข้อมูลในไฟล์ wp-config.php ดังนี้

define('WP_ALLOW_REPAIR',true);

เมื่อเพิ่มข้อมูลนี้ไปใน wp-config.php ก็สามารถเรียกใช้งานสคริปต์ได้ และเมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลบข้อมูลนี้ออกจากไฟล์ wp-config.php ด้วย เพื่อป้องกันคนอื่นเข้ามาเรียกใช้งาน หากไม่แก้ไขไฟล์ wp-config.php ก็จะไม่สามารถใช้งานได้

WordPress 2.9 Repair database

หรือในกรณีไม่อยากจะลบข้อมูลออกจาก wp-config.php ก็ใช้วิธีป้องกันไดเร็คทอรี่เอาก็ได้

การสร้างฐานข้อมูลบน CPanel

ในบทความหลาย ๆ บทความที่ผ่านมา คิดว่าหลายท่านคงจะสามารถติดตั้ง WordPress บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านได้แล้ว ต่อไปก็จะกล่าวถึงการติดตั้งบน Host กันบ้าง นั่นหมายถึงว่า ได้มีการจดโดเมนและเช่าพื้นที่สำหรับทำเว็บเีัรียบร้อยแล้ว

เรื่องการจดโดเมนและเช่าพื้นที่ขอยกไว้ไม่กล่าวถึง การที่จะติดตั้ง WordPress บน host นั้น เราก็จะต้องทำการสร้างฐานข้อมูลกันก่อน ตัวอย่างต่อไปนี้ ยกตัวอย่างการสร้างฐานข้อมูลบน host ที่ใช้ Cpanel รุ่น 11 เป็น Control Panel ซึ่งถ้าเทียบบนเครื่องของเราเอง ก็เป็นการสร้างฐานข้อมูลผ่าน phpMyAdmin นั่นเอง

ขั้นตอนในการสร้างฐานข้อมูลบน Cpanel มีดังนี้

  1. สร้างฐานข้อมูล
  2. สร้าง ผู้ใช้ฐานข้อมูล
  3. เพิ่มผู้ใช้ฐานข้อมูลไปยังฐานข้อมูล

Continue reading →

การสร้างฐานข้อมูล

ต่อไปเป็นการสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้ WordPress ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ การสร้างนั้นให้พิมพ์ที่เบราเซอร์ http://localhost/phpmyadmin ถ้าเข้าไม่ได้ แสดงว่า คุณอาจจะไม่ได้เปิดให้เครื่องเป็น Web Server ดังนั้นให้ย้อนกลับไปดูที่โปรแกรมสำหรับจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ของคุณ ให้เปิดการทำงานเสียก่อน

phpmyadmin01

หากใช้ XAMPP ก็จะเห็นหน้าเว็บของ phpMyAdmin เลย แต่หากใช้ AppServ นั้น จะปรากฏกรอบให้ป้อนข้อมูล ในช่อง User name ให้ป้อน root ในช่อง Password นั้น ให้ป้อนรหัสผ่านตามที่ได้ตั้งไว้เมื่อครั้งติดตั้ง AppServ แล้วคลิกปุ่ม OK

phpmyadmin02

เมื่อปรากฏหน้าเว็บ phpMyAdmin แล้ว ในช่องใต้ “สร้างฐานข้อมูลใหม” นั้น ให้ป้อนชื่อฐานข้อมูลที่คุณกำลังจะสร้างขึ้นมาใหม่ ในตัวอย่างนี้ผมตั้งชื่อ “blog” เพื่อให้จำง่ายและใช้งานสำหรับบล็อก ในช่องด้านล่างนั้น ให้เลือกเป็น “utf8_unicode_ci” แล้วคลิกปุ่ม “สร้าง” เพื่อสร้างฐานข้อมูลใหม่ การเลือก “utf8_unicode_ci” ในช่องด้านล่างชื่อบล็อกนั้น จะปล่อยว่างไว้ก็ได้ (คือมีคำว่า “การเรียงลำดับ”)

phpmyadmin03

เมื่อสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ phpMyAdmin อีกแล้ว เพราะในส่วนของข้อมูลต่าง ๆ WordPress จะสร้างให้ขณะที่ทำการติดตั้ง

หลายบล็อก หนึ่งฐานข้อมูล

ในเว็บหนึ่ง ๆ เราสามารถมีบล็อกได้หลายบล็อก เช่นที่โดเมนหลัก, sub-domain หรือ sub-directory ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งบล็อกของเรา ในการเช่าโฮสต์นั้น คุณสมบัติของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งให้ฐานข้อมูล MySQL หลายฐาน แต่บางแห่งให้เพียงแต่ฐานข้อมูลเดียว

ในกรณีที่ได้ฐานข้อมูลอย่างจำกัด เราสามารถติดตั้งบล็อกได้หลายบล็อกโดยใช้ฐานข้อมูลเพียงฐานเดียวเท่านั้น และมีประโยชน์มากสำหรับโฮสต์ที่ให้ฐานข้อมูลเดียว ที่สำคัญเวลาเมื่อใช้ฐานข้อมูลร่วมกันเพียงฐานข้อมูลเดียว เวลาสำรองข้อมูลก็สำรองเพียงครั้งเดียวก็ได้ข้อมูลครบทั้งหมดของทุกบล็อกครับ
Continue reading →