เครื่องมือพื้นฐานในการใช้ WordPress

จากที่ได้แนะนำเพื่อนๆ ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตั้งแต่พื้นฐานติดตั้ง WordPress จนถึงการอัพโหลดฐานข้อมูลจากโฮสต์เดิมเข้าโฮสต์ใหม่ ทุกอย่างจนสามารถเผยแพร่บล็อกได้ ทำให้ผมมานั่งคิดว่า จริง ๆ แล้วผมเล่นตลาด WordPress ระดับกลางและสูงจนเกินไป เทคนิคแพรวพราว แต่ถ้าพูดถึงระดับเริ่มต้นแล้ว ผมสอบตกไปเลยครับ ไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับผู้เริ่มต้นเลย จึงคิดว่า ผู้ใช้ที่เริ่มต้น นับ 0 (ศูนย์) จะทำอย่างไร ถึงจะมีบล็อกเขากับได้เหมือนกับคนเก่ง ๆ ทั่วไป

ผมจึงคิดว่า เครื่องมือในการใช้ทำงานกับ WordPress นี่ก็สำคัญ เรียกว่า เครื่องมือดี มันก็อุ่นใจไประดับหนึ่งแล้ว ก็เลยนำเอาเครื่องมือที่ผมใช้อยู่เป็นประจำและช่วยงานจัดการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีมาบอกกล่าวกัน ใครสนใจก็นำไปใช้ คงต้องบอกว่า เอาเฉพาะโปรแกรมพื้นฐานนะครับ แต่ถ้ามากกว่านี้ มันขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของบล็อกจะทำบล็อกแนวไหน ถ้าแนวสื่อการสอนก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เว็บด้านออกแบบก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่พื้นฐานนั้นมีเหมือน ๆ กัน

เครื่องมือพื้นฐานที่ผมใช้มีดังนี้

  1. Total Commander เป็นโปรแกรมจัดการไฟล์ที่ใช้งานง่ายมาก ๆ รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ เพียบพร้อม เปิดไฟล์บีบอัดได้สบาย ๆ ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมอื่น bookmark ไดเร็คทอรี่ให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว มีแท็บสำหรับเข้าถึงไดเร็คทอรี่ต่าง ๆ และฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีกเพียบ
  2. EditPlus เป็นโปรแกรมสำหรับแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ที่นิยมกันมาเป็น 10 ปีแล้ว เครื่องมือในการแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ทำได้มากกว่า NotePad ของแถมของ Windows หรือจะใช้ NotePad++ ก็ได้ ส่วนตัวแล้วผมจะใช้ทั้ง 2 ตัว แต่ EditPlus จะเป็นหลัก ส่วน NotePad++ จะใช้เมื่อแปลไฟล์ต่าง ๆ เป็นภาษาไทย
  3. FileZilla FTP Client ตัวนี้ใช้สำหรับอัพโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ กับ Server รวมทั้งการเปลี่ยน chmod 777 ให้กับไฟล์หรือโฟลเดอร์เมื่อมีปัญหาเรื่อง permission ด้วย

อย่าง Total Commander นี่ก็มี FTP ในตัวนะครับ แต่การใช้งานไม่ค่อยยืดหยุ่นเหมือนกับ Filezilla ดังนั้นเลยใช้แยกต่างหาก แล้วอีกอย่าง Filezilla คนจะรู้จักมากกว่าการใช้ Total Commander ในการอัพโหลดดาวน์โหลดไฟล์

เรื่องการใช้จัดการไฟล์ Total Commander ทำได้ดีเลยหล่ะครับ ทั้งบีบอัดและขยายไฟล์ .zip เมื่อเราดาวน์โหลดไฟล์ WordPress มาแล้วเราก็ใช้ตัวนี้แหล่ะครับ ขยาย ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมขยายอื่น ๆ โฟลเดอร์ไหนที่เราเข้าถึงบ่อย ๆ เราก็ Bookmark ไว้ซะ เข้าถึงได้รวดเร็ว ไม่ต้องค้นหาให้มันยุ่งยาก การดูและค้นหาไฟล์ก็ทำได้ เพียงแต่กด F3 บนไฟล์ที่ต้องการดูข้อมูล ก็สามารถดูได้ ค้นหาก็รวดเร็ว เรียกว่า จัดการไฟล์ต่าง ๆ ต้องตัวนี้เลยครับ

สำหรับโปรแกรมแก้ไขไฟล์นั้น EditPlus ตัวนี้ไ้ด้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน NotePad ก็ใช้งานได้ แต่ไม่ค่อยคล่องตัว ตัวนี้ มีเครื่องมือมาก ค้นหาและแทนที่ค่าต่าง ๆ ไ้ด้สะดวก ส่วนอีกตัวหนึ่งนั้นคือ NotePad++ ที่ผมติดตั้งไว้แต่มักจะไม่ค่อยได้ใช้ จะใช้ก็ตอนแปลภาษาไทยให้กับธีมบ้าง ซึ่งผมมักไม่ค่อยนิยมการแก้ไขไฟล์ธีมบน Server จะนิยมแก้บนเครื่องเสียมากกว่า ก็ลองดูทั้งสองตัวก็ได้ ดูว่า อันไหนคุณใช้สะดวกก็เลือกตัวนั้นก็แล้วกันหล่ะครับ

ส่วน FileZilla นี้ ก็นิยมใช้กันเยอะ เว็บไหน ๆ ก็แนะนำครับ เพราะมันเป็นของฟรี และใช้งานได้ดีเลยทีเดียว ตอนก่อนๆ ที่จะย้ายโฮสต์ผมก็ใช้ตัวนี้เปิดทั้งสองหน้าต่าง (โปรแกรม) เพื่อเข้าดูข้อมูลของทั้งสองโฮสต์ มีระบบจัดการข้อมูลต่าง ๆ เก็บข้อมูลการเชื่อมต่อไปยัง FTP Server ต่าง ๆ หน้าตาของโปรแกรมก็สื่อความหมายได้ดี ใช้งานไม่ยุ่งยาก

เครื่องมือเหล่านี้ เป็นทางเลือกนะครับ แต่ของผมมันเป็นตัวหลักในการใช้งานเลยหล่ะครับ ที่ว่าเป็นทางเลือกนั้นคือ ผมพูดกว้าง ๆ บางท่านอาจจะมีตัวโปรแกรมอื่น ๆ อยู่แล้ว บางคนถนัด Explorer ก็ไม่ว่าักันครับ ใช้โปรแกรมที่ตนเองถนัดไปเถอะครับ แต่หากตัวเลือกมีฟังก์ชั่นที่มันช่วยให้เราทำงานได้สะดวก เร็วขึ้น มันก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยครับ

คงเอาไว้แค่นี้ก่อนล่ะครับ นึกอะไรออกคงจะได้มาพูดคุยกันอีกหล่ะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


*