กำหนดรหัสผ่าน Admin ใหม่

ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ไขอีกวิธีหนึ่ง เมื่อลืมรหัสผ่านของ Admin หลังจากที่เคยเขียนบทความ "ลืมรหัสผ่าน Admin" ไปแล้ว ครั้งนั้นต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูล MySQL แต่มาครั้งนี้ง่ายกว่านั้นอีก เพียงแค่ติดตั้งสคริปต์ และป้อนรหัสผ่าน ก็ใช้ได้แล้ว

ขั้นตอนการทำงานมีดังนี้

  1. ดาวน์โหลดสคริปต์ WordPress Admin Password Resetter
  2. ขยายไฟล์ และอัพโหลดไฟล์ password-resetter.php ไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress (โฟลเดอร์ที่มีไฟล์ wp-config.php อยู่) อาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่อัพโหลดไปไว้ในโฟลเดอร์ plugins ตอบว่า เพราะสคริปต์นี้ไม่ใช่ plugin ครับ
  3. พิมพ์ที่เบราเซอร์ http://[your WordPress URI]/password-resetter.php
  4. จะปรากฏช่องให้ป้อนรหัสผ่านของ Admin ก็ตั้งรหัสตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Submit Query หลังจากที่กำหนดรหัสผ่านเสร็จแล้ว ที่เบราเซอร์จะแสดงหน้าล็อกอินเข้าสู่ระบบของ WordPress ก็ใช้ชื่อ admin และรหัสผ่านที่กำหนดไว้ เพื่อเข้าสู่ระบบ
  5. ลบไฟล์ password-resetter.php ออก

ด้วยวิธีง่าย ๆ เช่นนี้ ก็คงไม่ต้องกังวลนะครับว่า ถ้าลืมรหัสผ่านของ Admin แล้ว จะต้องทำอย่างไรบ้าง

หลายบล็อก หนึ่งฐานข้อมูล

ในเว็บหนึ่ง ๆ เราสามารถมีบล็อกได้หลายบล็อก เช่นที่โดเมนหลัก, sub-domain หรือ sub-directory ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งบล็อกของเรา ในการเช่าโฮสต์นั้น คุณสมบัติของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งให้ฐานข้อมูล MySQL หลายฐาน แต่บางแห่งให้เพียงแต่ฐานข้อมูลเดียว

ในกรณีที่ได้ฐานข้อมูลอย่างจำกัด เราสามารถติดตั้งบล็อกได้หลายบล็อกโดยใช้ฐานข้อมูลเพียงฐานเดียวเท่านั้น และมีประโยชน์มากสำหรับโฮสต์ที่ให้ฐานข้อมูลเดียว ที่สำคัญเวลาเมื่อใช้ฐานข้อมูลร่วมกันเพียงฐานข้อมูลเดียว เวลาสำรองข้อมูลก็สำรองเพียงครั้งเดียวก็ได้ข้อมูลครบทั้งหมดของทุกบล็อกครับ
Continue reading →

Blank Dashboard Screen

หลังจากที่เปิดบล็อกมาแล้ว ก็เห็นว่า บางจุดยังมีข้อบกพร่องอยู่ นั่นคือ ใครที่เคยใช้ WordPress มาก็จะทราบเส้นทางในการเข้าถึงโฟลเดอร์ของธีม และโฟลเดอร์ของปลั๊กอิน เมื่อเข้าถึงได้ ก็จะเห็นโฟลเดอร์ของธีมและปลั๊กอินต่าง ๆ เต็มไปหมด หากเปิดเผยและไม่ใส่ใจก็ไม่เป็นไร แต่หากท่านใด ไม่อยากเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ก็จะหาวิธีทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือเข้าถึงได้ ก็เห็นแต่หน้าเปล่า ๆ เท่านั้นเอง

ปกติแล้วผมจะใช้แค่ไฟล์ index.html ที่ไม่มีข้อมูลใด ๆ ไปใส่ไว้ ผู้ใช้ก็จะเปิดโฟลเดอร์นั้น ๆ เห็นแต่หน้าเปล่า ๆ ไม่มีข้อมูลใด ๆ แต่ในโฟลเดอร์ plugins นั้น ใส่ไฟล์ index.php เข้าไป ในระยะแรก ๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เข้าหน้า Admin Panel ได้ตามปกติ เพราะไม่ค่อยได้เข้าคลิกที่เมนู Dashboard

หลายวันผ่านไป เข้าหน้าต่าง Admin Panel ได้ตามปกติ แต่เวลาคลิกที่เมนู Dashboard ทำไมหน้าจอ Dashboard มันว่างเปล่า ไม่มีข้อความอะไรเหมือนแต่ก่อนเลย มันมีอะไรผิดปกติตรงไหนหรือเปล่า หรือปลั๊กอินตัวไหนมีผลกระทบบ้าง ที่ทำให้หน้าต่าง Dashboard ว่างเปล่า

blank-dashboard

จนมาเจอบทความใน myblogit ถึงได้รู้ว่า มีคนที่ประสบปัญหาเดียวกับเราเหมือนกันแฮะ แก้ไขปัญหาตามบทความ โดยการลบไฟล์ index.php ในโฟลเดอร์ plugins ออกแล้วอัพโหลดไฟล์ index.html ที่ไม่มีข้อมูลใด ๆ เข้าไปแทนที่ เวลาคลิกเมนู Dashboard ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมเลยครับ

ดังนั้น ไม่ควรนำไฟล์ index.php ไปไว้ในโฟลเดอร์ plugins เพราะจะทำให้เมื่อคลิกเมนู Dashboard แสดงแต่หน้าเปล่า ๆ

ลืมรหัสผ่าน Admin

มีความเป็นไปได้ที่บางครั้ง จะลืมรหัสผ่านของ Admin ทำให้ไม่สามารถเข้าไปดูแลบล็อกของตนเองได้ ผมมีวิธีในการตั้งรหัสผ่านใหม่มานำเสนอ ในความเป็นจริงแล้ว มีวิธีในการแก้ไขกรณีที่ลืมรหัสผ่าน Admin อยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ครั้งนี้ขอเสนอวิธีแรกก่อน
Continue reading →

การแบ่งบทความ

ช่วงนี้ก็พยายามเขียนบทความเกี่ยวกับ WordPress ในหลาย ๆ มุมที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บ้าง ซึ่งอาจจะไม่ใช่บทความใหญ่โตนัก เป็นบทความสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็มี

ในการเขียนบทความขึ้นบล็อกนั้น ความสั้น-ยาวของบทความนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเขียน รวมทั้งมีภาพประกอบด้วยหรือไม่ บทความต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานี้จะอยู่ที่หน้าแรกของบล็อก หากมีบทความหลาย ๆ บทความที่มีเนื้อหายาว ๆ จะทำให้บล็อกโหลดช้า รวมทั้งผู้อ่านจะต้องเลื่อนหน้าจอมาด้านล่างเพื่ออ่านบทความทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการทั้งหมด Continue reading →