วีดีโอ การใช้ปลั๊กอินสำรองข้อมูล

เป็นวีดีโอแสดงการติดตั้งปลั๊กอินที่ใช้สำหรับสำรองข้อมูล ซึ่งโปรแกรมตัวนี้ สำรองทั้งฐานข้อมูล, ไฟล์ WordPress สำรองได้หลายรูปแบบ เช่น ส่งไปยัง FTP Server, อีเมล์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถตั้งเวลาสำรองได้อีกด้วย

ความยาววีดีโอ 8.09 นาที
Continue reading →

วีดีโอสอน Acronis True Image Home 2010

มาอีกแล้วครับ วีดีโอเทรนนิ่งโปรแกรมที่น่าสนใจ วันนี้เป็นคิวของโปรแกรม Acronis True Image 2010 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำรองระบบ หาก Windows มีปัญหา เราก็สามารถนำระบบเก่ากลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปลง Windows ใหม่ ใช้โปรแกรมนี้คืนระบบ ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

วีดีโอที่สอนนี้เป็นขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม, การเริ่มต้นสำรองระบบ และการเปิดใช้งาน Acronis Starup Recovery Manager สามารถติดตามวีดีโอเหล่านี้ได้ใน http://training.xirbit.com (อีกแล้วครับท่าน…)

วีดีโอ : การสำรองข้อมูลด้วย phpMyAdmin

วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ทำวีดีโอเทรนนิ่งเกี่ยวกับ WordPress มาให้ผู้ชมได้ชมกัน อ้อจำไม่ผิดเคยมีสอนเกี่ยวกับ TMPGEnc DVD Author 3 มาครั้งหนึ่งแล้ว และเป็นคลิปเล็ก ๆ แต่วีดีโอชุดนี้ ความละเอียด 750 สามารถดูได้แบบเต็ม ๆ จอเลย

ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทาง XirBIT จะนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ดี ๆ ให้กับผู้ชม ลองติดตามชมได้เลยครับ หากมีข้อเสนอแนะอะไรก็แนะนำเข้ามาได้ แต่ต้องออกตัวก่อนนะครับ ว่า บรรยายไม่ค่อยเก่ง เป็นมือใหม่ แต่ก็จะพยายามพัฒนาต่อไปครับ

การสำรองข้อมูลโดย phpMyAdmin

ส่วนโปรแกรมที่นำมาใช้ทำวีดีโอ ก็คือ Camtasia ทั้ง 5 และ 6

การสำรองข้อมูลโดย phpMyAdmin

การสำรองข้อมูลของ WordPress จากฐานข้อมูลทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น สำรองข้อมูลจาก Control Panel ของโฮสต์ที่เราใช้บริการอยู่, การสำรองข้อมูลด้วยปลั๊กอินของ WordPress, การสำรองข้อมูลโดยใช้ phpMyAdmin เป็นต้น

ในบทความนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องการสำรองข้อมูลโดยใช้ phpMyAdmin โดยแสดงถึงวิธีการสำรองข้อมูลจาก phpMyAdmin และการคืนข้อมูลกลับไปยังฐานข้อมูล ซึ่งการสำรองข้อมูลนี้นอกจากจะเป็นการสำรองข้อมูลตามปกติแล้ว เรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสำรองข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การสำรองข้อมูลเพื่อย้ายโฮสต์ของบล็อก WordPress, การสำรองข้อมูลจากบล็อกออนไลน์เพื่อนำข้อมูลมาใช้กับ WordPress ที่อยู่ในเครื่อง Desktop เป็นต้น
Continue reading →

การย้ายบล็อก WordPress สู่โฮสต์ใหม่

การใช้ WordPress ไปนาน ๆ อาจจะต้องการที่จะเปลี่ยนโฮสต์ใหม่ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ให้บริการไม่ดี, ช้า, อยากได้พื้นที่มากขึ้น, อยากได้แบนด์วิดธ์มากขึ้น, อยากได้ฐานข้อมูลมากขึ้น, อยากได้โฮสต์ราคาถูก, ไปใช้ของฟรี จะเห็นว่า ด้วยสาเหตุหลายประการจริง ๆ

การย้าย WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่นั้น ก็ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดไปล่วงหน้า บางทีกลัวเพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่จริง ๆ แล้วง่ายครับ เพราะจริง ๆ แล้ว WordPress จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนของไฟล์ติดตั้ง (รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเพิ่มเข้าไป เช่นปลั๊กอิน, ธีม เป็นต้น) และอีกส่วนคือ ส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเขียนไป เช่นบทความ ข้อมูลเพจ (page) และความเห็นต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ในฐานข้อมูล MySQL เราก็สำรองข้อมูลทั้ง 2 ส่วนนี้ไป และปรับแต่งส่วนอื่น ๆ อีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง ทุกอย่างก็ราบรื่นแล้วหล่ะครับ

การย้ายบล็อกนี้ ควรที่จะเช่าโฮสต์ใหม่รอไว้ก่อน ก่อนที่จะย้าย และมีขั้นตอนในการย้ายบล็อก WordPress ดังนี้

  1. สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
  2. สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า) มาไว้ที่เครื่องของเรา
    ก่อน
  3. สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
  4. นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
  5. แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นหากใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน)
  6. อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manger จะเร็วกว่า)
  7. ไปยังส่วนจัดการโดเมนของผู้ให้บริการจดโดเมนที่เราได้จดโดเมนไว้ เปลี่ยน NameServer ให้เป็น NameServer ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่
  8. รอ NameServer อัพเดท ไม่เกิน 24 ชม. ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนโฮสต์ใหม่ได้แล้ว

ขั้นตอนตามที่แสดงมา คงช่วยให้ผู้ที่ต้องการย้ายโฮสต์ ได้คลายกังวลและศึกษาเป็นแนวทางได้ หากมีข้อสงสัยอะไร สอบถามเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นเข้ามาได้ครับ


ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 27 มกราคม 2552

คำแนะนำ

เมื่อสำรองข้อมูลมาแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย โดยการขยายและเปิดดูข้อมูล หากมีปัญหาให้ทำการสำรองข้อมูลอีกครั้ง