การย้ายบล็อก WordPress สู่โฮสต์ใหม่

การใช้ WordPress ไปนาน ๆ อาจจะต้องการที่จะเปลี่ยนโฮสต์ใหม่ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ให้บริการไม่ดี, ช้า, อยากได้พื้นที่มากขึ้น, อยากได้แบนด์วิดธ์มากขึ้น, อยากได้ฐานข้อมูลมากขึ้น, อยากได้โฮสต์ราคาถูก, ไปใช้ของฟรี จะเห็นว่า ด้วยสาเหตุหลายประการจริง ๆ

การย้าย WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่นั้น ก็ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดไปล่วงหน้า บางทีกลัวเพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่จริง ๆ แล้วง่ายครับ เพราะจริง ๆ แล้ว WordPress จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนของไฟล์ติดตั้ง (รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเพิ่มเข้าไป เช่นปลั๊กอิน, ธีม เป็นต้น) และอีกส่วนคือ ส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเขียนไป เช่นบทความ ข้อมูลเพจ (page) และความเห็นต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ในฐานข้อมูล MySQL เราก็สำรองข้อมูลทั้ง 2 ส่วนนี้ไป และปรับแต่งส่วนอื่น ๆ อีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง ทุกอย่างก็ราบรื่นแล้วหล่ะครับ

การย้ายบล็อกนี้ ควรที่จะเช่าโฮสต์ใหม่รอไว้ก่อน ก่อนที่จะย้าย และมีขั้นตอนในการย้ายบล็อก WordPress ดังนี้

  1. สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
  2. สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า) มาไว้ที่เครื่องของเรา
    ก่อน
  3. สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
  4. นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
  5. แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นหากใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน)
  6. อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manger จะเร็วกว่า)
  7. ไปยังส่วนจัดการโดเมนของผู้ให้บริการจดโดเมนที่เราได้จดโดเมนไว้ เปลี่ยน NameServer ให้เป็น NameServer ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่
  8. รอ NameServer อัพเดท ไม่เกิน 24 ชม. ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนโฮสต์ใหม่ได้แล้ว

ขั้นตอนตามที่แสดงมา คงช่วยให้ผู้ที่ต้องการย้ายโฮสต์ ได้คลายกังวลและศึกษาเป็นแนวทางได้ หากมีข้อสงสัยอะไร สอบถามเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นเข้ามาได้ครับ


ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 27 มกราคม 2552

คำแนะนำ

เมื่อสำรองข้อมูลมาแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย โดยการขยายและเปิดดูข้อมูล หากมีปัญหาให้ทำการสำรองข้อมูลอีกครั้ง

16 Comments

  1. ขอเรียนถามท่านอีกข้อครับ

    ถ้าจะปิดคอมเมนต์ คือไม่อนุญาตให้คนอ่านคอมเมนต์เป็นบางโพสต์ หรือทุกโพสต์ มีวิธีทำได้ไหมครับ ถ้ามีช่วยเขียนเป็นอีกโพสต์หนึ่งก็น่าจะดีนะครับ

    ขอบคุณครับ

  2. การจะปิดคอมเม้นต์ ไม่ให้คนอ่านนั้น คงต้องแก้ที่ธีมครับ ในส่วนของการแสดงคอมเม้นต์ คือตัดออกไป ก็จะไม่แสดงผลแล้วหล่ะครับ

    กับอีกส่วนหนึ่งคือ การปิดการแสดงความเห็น คือไม่ให้แสดงความเห็นเพิ่มเติม แต่อ่านความเห็นของเก่าได้ อันนี้แก้ไขที่ฐานข้อมูล ไม่ยากครับ ซึ่งวิธีนี้จะง่ายดี เหมาะสำหรับการย้ายโฮสต์

    คือก่อนที่จะย้ายโฮสต์ ก็สำรองข้อมูลต่าง ๆ หมดแล้ว ก็ไปแก้ไขฐานข้อมูลในโฮสต์เก่า คือปิดแสดงความเห็นซะ ดังนั้น เมื่อระบบปรับปรุง name server เสร็จแล้ว แสดงข้อมูลเว็บในโฮสต์ใหม่ ก็จะสามารถแสดงความเห็นได้ตามปกติ

    แต่หากระบบยังไม่ปรับปรุง name server บล็อกยังแสดงผลในโฮสต์เก่า ก็จะอ่านได้อย่างเดียว แสดงความเห็นไม่ได้ จึงหมดกังวลเรื่องมีคนแสดงความเห็นในโฮสต์เก่า แล้วพอระบบปรับปรุง name server ไปยังโฮสต์ใหม่ ข้อมูลที่แสดงความเห็นนั้นจะหายไป

    ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปลีกย่อยน่ะครับ จึงไม่ได้เขียนไว้ในหลักการย้ายโฮสต์ ซึ่งขั้นตอนที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องหลัก ๆ (ถึงไม่ได้กล่าวไว้ก็ได้ทราบแล้วตอนนี้)

    และไม่ทราบว่าต้องการทราบขั้นตอนไหนดีครับ ระหว่าง ไม่ให้แสดงความเห็นทั้งหมด กับการปิดความเห็น แจ้งมานะครับ เดี๋ยวจัดไปครับ :-)

  3. ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ผมมีปํญหา เมื่อย้ายไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว config แล้ว แต่หน้าpage ไม่แสดงหน้าออกมา ครับแก้ไงหรือครับแนะนำที

  4. ขอบคุณมากคับพี่ ผมก็อ่านบทความของพี่แล้วนะคับ แล้วก็ลองทำแล้ว พอจะเข้า
    Wordpress เข้าไม่ได้คับ หาสาเหตุไม่เจอคับทำตามขั้นตอนแล้วนะคับ ผมใช้โฮสต์ของHost Gator มีอะไรไม่เหมือนที่อื่นปาวคับ ขอคุณมากเลยถ้าพี่จะกรุณาคับ(ผมไม่ค่อยเก่งนะคับ) ถ้าไม่เป็นการรบกวน ขอเบอร์ในเมล์ก็ได้คับผมโทรหาคับ ช่วยหน่อยคับ

  5. ถ้าติดต่อผมลิงก์ CONTACT ด้านบนเลยครับ

    ให้คุณตรวจสอบดังต่อไปนี้

    1. สร้างฐานข้อมูลแล้วหรือยัง
    2. Import ฐานข้อมูลเข้าไปหรือยัง
    3. ตรง host name แก้ไขตรงกันหรือไม่ hostgator ใช้ localhost หรือเปล่า? ถ้าไม่ใช่ ต้องแก้ไขด้วย
    4. แก้ไขไฟล์ wp-config.php ให้ข้อมูลตรงกับข้อมูลของโฮสต์ใหม่ แล้วอัพโหลดเข้าไปยังโฮสต์ใหม่หรือยัง
    5. คุณอัพโหลดไฟล์ wordpress ผิดโฟลเดอร์หรือเปล่า ต้องไว้ที่โฟลเดอร์ public_html
    6. เปลี่ยน DNS ที่โดเมนชี้ไปที่ hostgator หรือยัง

    ลองตรวจสอบรายการข้างต้นมาก่อนนะครับ ลองดูว่าผิดพลาดตรงไหน เพราะผมเองก็เพิ่งย้ายโฮสต์ของ XirBIT เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ก็เรียบร้อยดีไม่มีปัญหา

  6. พี่คับผมมีข้อสังเกตุ
    1.)ถ้าโดเมนหลักยังไม่ได้แก้ไข(nameserver) เวลาใช้คำสั่งเรียกWordpress
    ก็จะเกิด Erro ใช่ปาวคับ
    2.)ข้อมูลในCpanal ลบทิ้งหมดเลยได้ปาวคับ(เห็นข้อมูลเครื่องบางตัวก็กลับมา)จุดประสงค์เพื่อล้างข้อมูลแล้วทำใหม่นะคับ สามารถทำได้ปาวคับ

    ขอบคุณมากคับพี่

  7. เพิ่มเติมคับพี่เรื่องโดเมนหลัก(จดในนามเพื่อนผมพอดีตอนนี้ติดต่อไม่ได้คับ)ด้วยว่าตอนนั้นPapal ผมจดไม่ผ่านเลยให้เพื่อนจดให้คับ ส่วนโดเมนอื่นแก้แล้วคับ
    ขอบคุณคับ

  8. การย้ายโฮสต์ของ WordPress นั้น จริง ๆ แล้วมันจะมีอยู่ 2 แบบ คือย้ายไปเป็นโดเมนหลักของบัญชี (คือโดเมนที่ใช้สมัคร host) กับอีกแบบหนึ่งคือเป็น add on domain ในบัญชีบนโฮสต์นั่นเอง แต่เวลาทำจริง ๆ แล้วโดยภาพรวมแล้วก็เหมือนกันครับ แตกต่างแค่ ถ้าเป็น add on domain ก็ต้องไปเพิ่มโดเมนใน Cpanel ตรง Add on domain ก่อนครับ

    1) คืออย่างนี้ครับ เมื่อเราสมัครโฮสต์แล้ว แต่โดเมนจดไว้ที่อื่น เรายังไม่เปลี่ยน name server ที่โดเมนตามข้อมูลของโฮสต์ เวลาเรียกผ่านโดเมน ก็จะยังไม่ชี้มาที่โฮสต์ใหม่ จนกว่าเราจะเปลียน name Server ครับ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนแล้วก็ต้องรอเวลาประมาณ 1 วันครับ

    ขณะที่ยังไม่เปลี่ยน เราสามารถติดตั้ง wordpress ได้ โดยเรียกตาม url ที่ทางโฮสต์ให้มา ส่วนใหญ่จะเป็นเบอร์ ip น่ะครับ แต่ถ้าเรียกตามโดเมน ซึ่งเรายังไม่เปลี่ยน name server ก็จะเข้า wordpress ตามชื่อโดเมนไม่ได้ครับ

    2) ข้อมูลใน Cpanel คงต้องดูว่าตรงไหน แนะนำว่า หากไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร อย่าทำไปโดยพละการนะครับ ไฟล์ที่จะลบได้คือข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในโฟลเดอร์ public_html ครับ แต่ก็ต้องดูว่าไฟล์นั้นมีอะไรบ้างไฟล์ .ftpquota ไม่ต้องไปลบครับ ส่วนไฟล์อื่น ๆ ก็คงไม่มีอะไรแล้วหล่ะครับ อ้อโฟลเดอร์ cgi-bin ปล่อยมันไว้อย่างนั้นไม่ต้องลบ

  9. การเช่าโฮสต์นั้น จะใช้โดเมนหลักในการจด การเช่าโฮสต์ที่ให้เพิ่มโดเมนได้หลายโดเมนนั้น (addon domain) เมื่อเราเพิ่ม addon domain ไปแล้ว ก็สามารถเข้า Cpanel ได้จากโดเมนที่เป็น addon ได้เลยครับ โดยใช้ /cpanel ต่อท้ายโดเมนที่เป็น addon ก็ได้ครับ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเข้าผ่านทางโดเมนหลักเสมอไปครับ ซึ่งหากโดเมนหลักหมดอายุลง เราก็สามารถใช้โฮสต์ได้ตามปกติครับ ไม่มีปัญหาอะไร

  10. ผมได้เข้าไปดูแล้ว ไม่เห็นไฟล์ที่พี่บอกเลย ทำไงละคับ คือก่อนหน้านี้จากการที่เข้าWordpress ไม่ได้โดยผมไม่ทราบสาเหตุนะคับพี่แล้วก็ได้ลบไปแล้วนะคับพี่ ทำไงดี แต่เท่าที่สังเกตุไฟล์บางไฟล์ก็กลับคืนมาคับ แต่เหมือนจะไม่ตรงกับที่พี่บอก ถ้าเป็นอย่างนี้แก้ไขอย่างไงดีละคับพี่ ขอคำแนะนำด้วยคับ ขอบคุณมากคับพี่

  11. เรื่องไฟล์นั้น อาจจะไม่มีสำหรับโดเมนหลัก ถ้าไม่มีก็ไม่แปลกครับ ไม่ต้องไปซีเรียส

    ผมส่งเมล์เบอร์โทร.ไปให้แล้วนะครับ ติดต่อมาก็แล้วกันครับ จะช่วยแก้ปัญหาให้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


*