ย้ายโฟลเดอร์ แต่เข้าถึงบทความได้เหมือนเดิม

การย้ายโฟลเดอร์ของ WordPress แล้วผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงบทความเดิมได้ หรือหาไม่เจอนั้น ผมไม่แน่ใจว่ามีผู้ใช้พบปัญหาอย่างนี้หรือไม่ เช่น สมมติว่า ตอนแรกอาจจะลองทำบล็อกที่ http://domain.com/wordpress พอนาน ๆ เข้า อยากจะเปลี่ยนเป็น http://domain.com/blog หรือจาก http://domain.com/blog แต่อยากจะเปลี่ยนเป็น http://domain.com แต่ทำไงดี บทความเยอะ มีคนอ้างอิงเยอะ หากจะเปลี่ยน ผู้ใช้ก็จะไม่เจอบทความเดิม

ปัญหานี้มีทางออก กล่าวคือ ให้คุณสร้างไฟล์ .htaccess แล้วบรรจุข้อความ

 
PGNvZGU+DQpPcHRpb25zICtGb2xsb3dTeW1MaW5rcw0KUmV3cml0ZUVuZ2luZSBvbg0KUmV3cml0ZVJ1bGUgKC4qKSBodHRwOi8vbmV3dXJsLyQxIFtSPTMwMSxMXQ0KPC9jb2RlPg==

ตรง http://newurl คือชื่อ URL ใหม่ของบล็อกนั่นเอง แล้วนำไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์ของบล็อกเดิม เมื่อผู้ใช้เปิดบทความตาม url เดิม ก็จะทำการ redirect (เปลี่ยนหน้า) ไปเปิดหน้าบทความตาม url ใหม่ ทำให้ผู้ใช้ยังคงเข้าถึงเนื้อหาของบทความได้เหมือนเดิม

การตั้งสิทธิ์เข้าถึงไฟล์ใน DirectAdmin

สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ (file permission) นี้ เป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้ WordPress มือใหม่มักจะพบ การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์นี้ มักจะมีการพูดแบบง่าย ๆ คือ chmod 777 เป็นการกำหนดให้ WordPress สร้างไฟล์/โฟลเดอร์ หรือทำให้เราสามารถแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ได้ หากไม่กำหนดแล้วจะทำให้เกิดปัญหาเช่น ติดตั้ง WordPress ไม่ได้ (การติดตั้งแบบให้ WordPress สร้างไฟล์ wp-config.php) ไม่สามารถอัพโหลดภาพได้ เป็นต้น

ในบทความนี้จะเสนอการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์แบบง่าย ๆ ผ่าน File Manager โดย Control Panel ที่จะนำเสนอนี้เป็น DirectAdmin และโฟลเดอร์ตัวอย่างที่จะนำมาเสนอนี้คือโฟลเดอร์ uploads ที่อยู่ใน /wp-content ซึ่งโฟลเดอร์ uploads นี้ จะต้องกำหนดสิทธิ์ให้เป็น 777 เพื่อจะสามารถอัพโหลดรูปภาพได้
Continue reading →

สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์

สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ (File Permission) คือการกำหนดสิทธิ์ว่าไฟล์/โฟลเดอร์ใดอ่านได้ เขียน(แก้ไข)ได้ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละระบบจะไม่เหมือนกัน บางระบบก็ไม่ต้องไปกำหนดค่าใด ๆ แต่บางระบบต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์/โฟลเดอร์ด้วย หากไม่กำหนด เมื่อมีการเข้าถึง ก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่ได้กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ เช่น เมื่ออัพโหลดไฟล์แล้ว จะปรากฏข้อความว่า

Unable to create directory /home/user/public_html/wp-content/uploads/2008/11. Is its parent directory writable by the server?

ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่ได้กำหนดสิทธิ์ให้โฟลเดอร์ uploads นั้นเขียนได้นั่นเอง และปัญหาที่เกิดจากการไม่กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์นี้มีอีกหลายอย่าง เช่น การแก้ไขธีมผ่านทาง Theme Editor และการปรับปรุงรูปแบบของ ลิงก์ถาวร (Permalinks)
Continue reading →