WordPress 2.8.4 มาให้อัพเดทกันอีกแล้ว

ออกมาหลายวันแล้ว เมื่อวานว่าจะเขียนแจ้งข่าวสักหน่อย (ยังนึกเขียนเรื่องอื่นไม่ออก) ไม่รู้เป็นที่อินเทอร์เน็ตหรือ host กันแน่ช้า ๆ เลยลืม ๆ ไปเลย ไม่ได้เขียน วันนี้นึกขึ้นได้เลยเอามาเขียน ๆ กันสักหน่อย ตอนนี้ WordPress 2.8.4 ออกมาให้อัพเดทกันอีกแล้ว

ผมยังใช้รุ่นเก่าอยู่เลย ก่อนนั้นเคยตามประชิด WordPress รุ่นใหม่ ๆ ตลอด (หมายถึงนำมาใช้กับ XirBIT) แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งอัพเดทแล้วปลั๊กอินตามไม่ทันเลยเดี้ยงไปสักระยะหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็เลยตั้งสติว่า จะไม่ตามติดเหมือนก่อนแน่นอน ถึงไม่ตามติด แต่ก็ได้ใช้เหมือนกัน คือใช้ทดสอบบนเครื่องเราบ้าง บนโฮสต์บ้างที่ติดตั้งโดเมน พื้นที่เยอะ อัด ๆ มันเข้าไป ทดสอบได้ตามที่ต้องการ ก็ได้รู้ความคืบหน้า คุณลักษณะต่าง ๆ ไม่แพ้กัน

ถึงจะอัพเดทกันเรื่อย ๆ ก็ดีครับ ทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ ๆ กับการพัฒนา เผลอ ๆ รุ่น 2.9 ออกมาไม่ทันตั้งตัวก็ได้ครับ ก็ได้แต่คาดหวังว่า คงไม่แก้ข้อผิดพลาดหรือรูโหว่อะไรรวดเร็วอย่าง 2.8 นะครับ เห็นใจคนที่ต้องอัพเดทน่ะ

Post Revisions

Post Revisions คือ ข้อมูลประวัติการแก้ไขบทความ ซึ่งใน WordPress มีตั้งแต่ 2.6 ตามที่ได้เขียนไปแล้วในบทความก่อน ๆ นั้น โดยจะเป็นค่าเริ่มต้นในการใช้ WordPress คือ มันจะเก็บข้อมูลการแก้ไขบทความไปเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้ฐานข้อมูลใหญ่ขึ้นแน่นอน การปิดการใช้ Post Revisions ทำดังนี้

define(‘WP_POST_REVISIONS’, false);

นำโค้ดนี้ไปใส่ไว้ใน wp-config.php มันก็จะยกเลิกการเก็บข้อมูลการแก้ไขบทความแล้วหล่ะครับ (อันนี้ก็พูดไปแล้ว)

การจะทำให้ WordPress กลับมาใช้ Post Revisions ตามเดิม ก็เปลี่ยนจาก false เป็น true หรือไม่ ก็ลบโค้ดนั้นทิ้ง ทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิมแล้ว แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การกำหนดได้ว่า จะให้มันเก็บข้อมูลไว้ได้กี่ครั้ง คือเราสามารถควบคุม WordPress ให้เก็บข้อมูลการแก้ไขบทความ เป็นจำนวนครั้งได้ ทำดังนี้

define(‘WP_POST_REVISIONS’, จำนวนครั้ง);

นำโค้ดนี้ไปใส่ไว้ใน wp-config.php โดยตรง “จำนวนครั้ง” นั้นให้เปลี่ยนเป็นจำนวนตัวเลขที่คุณต้องการ เช่น

define(‘WP_POST_REVISIONS’, 3);

เป็นการเก็บประวัติการแก้ไขไว้เพียง 3 ครั้งเท่านั้น การใส่เลข “0” (ศูนย์) จะเป็นการปิดการเก็บข้อมูล (มีค่าเท่ากับ false) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับข้อมูลปัจจุบัน และข้อมูลเก่าที่มีการแก้ไขเท่านั้น หมายความว่าอย่างไร?

กล่าวคือ ข้อมูลเดิมทำการแก้ไขมาแล้ว 10 แล้วทำการกำหนดให้เก็บประวัติไว้เพียง 3 ครั้ง ดังนั้น บทความที่จะเขียนใหม่ต่อไป มันจะเก็บประวัติไว้สูงสุดเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ข้อมูลเดิม เก็บไว้ 10 ก็ยังอยู่ครบทั้ง 10 ครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เรากลับไปแก้ไขบทความเดิมที่เก็บประวัติไว้ 10 ครั้งนั้น เมื่อคุณบันทึกการแก้ไขลงไป ประวัติการแก้ไขนั้นก็จะถูกลบและเก็บไว้เพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ตามค่าการเก็บประวัติตามที่ได้กำหนดไว้ในไฟล์ wp-config.php

ส่วนการจะลบข้อมูลประวัติการแก้ไขบทความนั้น อ่านเพิ่มเติมได้จาก “ลดขนาดฐานข้อมูล

จับ WordPress ใส่ CD

WordPress นั้น นอกจากจะติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งบน Host และบน Localhost (เครื่อง Desktop) แล้ว เรายังสามารถนำไปติดตั้งบน CD ได้อีกด้วย โดยสามารถนำไปประยุกต์ได้หลาย ๆ อย่าง เหมือนกับเว็บไซต์เว็บหนึ่งที่ทำงานบนแผ่น CD เช่น สำหรับการทำบทความสอนการใช้คอมพิวเตอร์ การนำเสนอสินค้า และอื่น ๆ ตามที่เราจะสามารถนำ WordPress ไปประยุกต์ใช้งาน

ขั้นตอนในการใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพียงหาซอฟท์แวร์สำหรับทำงานที่เหมาะสมมาติดตั้งให้เป็น WebServer ที่ทำงานบนแผ่น CD ที่รองรับ PHP และ MySQL รวมทั้งใช้เทคนิคนิดหน่อย ก็สามารถนำ WordPress ไปโลดแล่นบนแผ่น CD ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้เหมือนกับเว็บ ๆ หนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
Continue reading →

บริหารสิทธิ์สมาชิกด้วย Role Manager

การใช้ WordPress ทำเว็บรองรับผู้เขียนบทความหลาย ๆ คนหรือมีการสมัครสมาชิกด้วยนั้น การจัดการสมาชิกหรือผู้ใช้ที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกนั้น เป็นเรื่องที่ควรคำนึงด้วย ว่าแต่ละกลุ่ม แต่ละคนนั้นควรมีสิทธิ์ในการจัดการ WordPress ได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและบริหารอย่างเหมาะสม

กลุ่มสมาชิกใน WordPress แบ่งออกได้เป็นดังนี้

  1. Administrator
  2. Editor
  3. Author
  4. Contributor
  5. Subscriber

จะเห็นได้ว่า มีหลายกลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มนี่มีสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง คนที่รู้แล้วก็แล้วไป คนที่ไม่รู้ก็ต้องมานั่งจำว่า แต่ละกลุ่มมีสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง แล้วควรจะเพิ่มสิทธิ์หรือลดสิทธิ์กลุ่มไหนอย่างไรดี
Continue reading →

WordPress 2.7 รุ่นเบต้า

WordPress 2.7 คงจะออกมาให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดกันอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้เป็นแน่ ณ ตอนเขียนบทความก็ออก beta 2 แล้ว จากการที่ได้ลองรุ่น beta นี้ก็นับว่า น่าใช้พอสมควร มีการปรับปรุงหน้าตาในส่วนของ Dashboard เป็นอย่างมาก คือ จากเมนูที่เคยอยู่ด้านบน ก็ปรับมาอยู่ด้านซ้าย ข้อมูลบล็อกก็จัดให้มีระเบียบมากยิ่งขึ้น มี Quick Press การแก้ไขบทความก็มีคำสั่งพิเศษเพิ่มเข้ามา ช่วยให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็วนั่นคือ Quick Edit การติดตั้งปลั๊กอินก็สะดวกกว่าแต่ก่อน หาจากเว็บแล้วติดตั้ง หรือจะเลือกไฟล์ .zip แล้วอัพโหลดเข้าไปผ่านทาง Dashboard ก็ง่ายครับ ไม่ต้องอัพโหลดผ่าน FTP อีกต่อไป (หรือใครจะใช้แบบเดิม ๆ ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด) นี่เป็นตัวอย่างเท่านั้น

จากที่ได้ดาวน์โหลดรุ่นที่เขากำลังพัฒนาในแต่ละวันมานั้น รุ่น beta 2 ลองใช้แล้ว บางส่วนมันยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่ (ก็แหงล่ะครับ มันรุ่น beta นี่นา) ในส่วนของการแสดงผลว่าจะให้แสดงผลอะไรได้บ้าง มีเครื่องหมายถูกให้เลือก ตรงนี้ยังทำได้ไม่ดีนักที่เขากำลังพัฒนากันอยู่ เลยต้องกลับไปติดตั้งรุ่น beta 1 แล้วจับภาพมาเกริ่นนำให้ดูกันก่อนที่จะใช้รุ่นเต็มกันต่อไป
Continue reading →