การดาวน์โหลดและการขยายไฟล์

การดาวน์โหลดไฟล์ของ WordPress มาติดตั้งบล็อกในเครื่องของเรา ให้ไปดาวน์โหลดที่ http://www.wordpress.org/download โดยด้านบนของหน้าเว็บ จะแสดงหมายเลขรุ่นล่าสุด

download-extract-01

คลิกที่ปุ่ม Download .ZIP แล้วดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่อง

download-extract-02

เปิดโปรแกรมบีบอัดข้อมูลเช่น WinRAR, WinZip หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่คุณใช้อยู่ เปิดไฟล์ที่ได้ดาวน์โหลดมา เพื่อขยายข้อมูล ในตัวอย่างนี้ เปิดโปรแกรม WinRAR ขึ้นมา แล้วเลือกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา คลิกปุ่ม Extract to เพื่อขยายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ที่ต้องการ

download-extract-03

เมื่อคลิกปุ่ม Extract to แล้วจะปรากฏหน้าต่าง ให้เลือกโฟลเดอร์ปลายทางที่เราจะขยายไฟล์ WordPress ไปเก็บไว้ ในที่นี้ให้ขยายไปเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ที่เป็น root site ของเรา

โฟลเดอร์ root site นี้ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมจำลอง Web Server ที่เราติดตั้ง

  • AppServ root site คือ C:\AppServ\www
  • XAMPP root site คือ C:\Xampp\htdocs

คลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มขยายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ เมื่อขยายเสร็จ ไฟล์ของ WordPress จะอยู่ในโฟลเดอร์ wordpress ที่ root site ของเรา หากต้องการเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ ก็สามารถทำได้ เช่น หากต้องการให้เข้าถึงบล็อกทาง http://localhost/blog ก็ให้เปลี่ยนโฟลเดอร์ wordpress เป็น blog

เรื่องวุ่น ๆ กับการสำรองข้อมูล

วันนี้ก็มึน ๆ เรื่องข้อมูลในฐานความรู้ หายไปหมดเหลือไว้แต่หัวข้อเท่านั้น คิดว่าคงหายไปหลายวันแล้วหล่ะ รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่ใส่ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันด้วย ก็มีปัญหาเกือบหมด เว้นแต่ข้อมูล WordPress จึงนึกไปนึกมาว่า สาเหตุมันเกิดจากอะไร

ก็เลยเดาเอาว่า น่าจะเกิดมาจากการสำรองข้อมูลของ WordPress โดยปลั๊กอินบางตัวเป็นแน่ คือในโฮสต์ผมเขาให้ฐานข้อมูล MySQL มา 50 ฐาน และใช้กันหลาย ๆ เว็บก็เลยใช้กันอย่างประหยัด เลยอัดไปซะฐานข้อมูลเดียวหลายโปรแกรม ทั้งบล็อก 2 บล็อก 1 ฐานความรู้ สมุดเยี่ยม และลองใช้ drupal ด้วย Continue reading →

การติดตั้ง AppServ

หลังจากที่ได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็น Web Server ไปแล้ว นั่นคือ XAMPP และขอแนะนำอีกสักหนึ่งโปรแกรม เพื่อให้มีทางเลือกหลาย ๆ ทางในการทดสอบ โปรแกรมที่จะแนะนำต่อไปคือ AppServ ในรุ่น 2.5.9 ประกอบไปด้วย

  • Apache Web Server เวอร์ชั่น 2.2.4
  • PHP Script Language เวอร์ชั่น 5.2.3
  • MySQL Database เวอร์ชั่น 5.0.45
  • phpMyAdmin Database Manager เวอร์ชั่น 2.10.2

Continue reading →

การติดตั้ง XAMPP

ก่อนที่เราจะได้ใช้ WordPress ทำบล็อกนั้น เอาแบบง่าย ๆ ก่อนคือจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็น Web Server ก่อน แล้วลองใช้งานดู ยังไม่ต้องถึงขนาดจดโดเมน เช่าโฮสต์ให้เสียตังค์ ซึ่งการติดตั้งบนโฮสต์นั้นเราจะเอาไว้กล่าวถึงในภายหลัง ตอนนี้จำลองเครื่องของเราให้เหมือนกับ Server บนอินเทอร์เน็ตกันก่อน เมื่อจำลองเสร็จ เราก็จะสามารถติดตั้ง WordPress เพื่อทดสอบใช้งานได้ เมื่อเราเข้าใจการทำงานต่าง ๆ ดีแล้ว อยากมีเว็บไซต์เอง จึงจดโดเมน เช่าโฮสต์ในภายหลัง

โปรแกรมที่ช่วยจำลองคอมพิวเตอร์ให้เป็น Web Server นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม จะค่อย ๆ นำเสนอไปที่ละโปรแกรม Continue reading →

เปลี่ยนธีมใหม่

ธีม (รูปแบบการแสดงผลบล็อก) นี้ก็ดีอยู่เหมือนกัน สวยดี แต่ก็ไปเห็นบางเว็บก็ใช้ธีมนี้เหมือนกัน ก็เลยแสวงหาธีมหลาย ๆ ธีมเพื่อมาเปลี่ยนใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน หากันจนมึน ไปเจอธีมปัจจุบันนี้ แม้ดูแล้วสีจะมึน ๆ ไปหน่อย แต่ก็ใช้ได้ ไม่เคยเห็นคนไทยหรือฝรั่งใช้ธีมนี้ (หรือใช้อยู่ แต่ผมยังไม่เห็น) ขอใช้ธีมนี้ก็แล้วกัน น่าจะปรับแต่งอะไรได้ดีหลาย ๆ อย่าง

การใช้ธีมต่าง ๆ ผมไม่ค่อยดูอะไรมากหรอก อย่างแรกดูความกว้างพอไหม แล้วก็ปรับแต่ง CSS ง่ายหรือเปล่า 2 คอลัมน์หรือ 3 คอลัมน์นั้น ไม่ค่อยเน้นอะไรมาก

ความสวยงามแต่ละคนมองไม่เหมือนกัน ดังนั้น ผมเอาที่ไม่ค่อยซ้ำกับใครก่อน ธีมนี้คือ digg-3-columns-10 ส่วนที่ด้านล่างไม่แสดงว่ามาจากไหน เป็นธีมของใครนั้น ไม่ต้องตกใจครับ เขาไม่มีมาให้เองครับ ผมไม่ได้ลบออกแต่อย่างใด แต่เว็บเจ้าของคือ http://www.wpdesigner.com ลองเข้าไปเยี่ยมชมเว็บเขาก็ได้ครับ มีความรู้ดี ๆ หลายอย่างให้ได้อ่านกันครับ