การเปลี่ยนเส้นทางบล็อก

ผู้ใช้ WordPress บางท่าน ติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory เช่น http://example.com/blog หรือ http://example.com/wordpress เมื่อเว็บมีการเติบโตขึ้น ต้องการเปลี่ยนการทำเว็บไซต์แบบเดิมเป็นเว็บบล็อก คือเรียกบล็อกจาก http://example.com เลย โดยที่ไม่ต้องมีการติดตั้ง WordPress ใหม่และยังต้องการให้ไฟล์ต่าง ๆ ของ WordPress ยังคงอยู่ในโฟลเดอร์เดิม

WordPress นั้น อนุญาตให้คุณสามารถติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory แต่มีการเรียกใช้งานบล็อกจาก site root ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

  1. เข้าไปที่ Administration Panel
  2. ไปที่เมนู Options
  3. ในช่อง WordPress address (URL) : ให้ป้อน URL ที่ติดตั้ง WordPress เช่น http://example.com/blog หรือ http://example.com/wordpress
  4. ในช่อง Blog address (URL) : เปลี่ยน URL เป็น site root เช่น http://example.com
  5. คลิกที่ Update Options เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  6. คัดลอกไฟล์ index.php และ .htaccess ที่อยู่ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress ไปยัง root directory ของ site
  7. เปิดไฟล์ index.php ที่ root directory ของ site โดย Text editor เช่น notepad เป็นต้น (index.php ไฟล์นี้ที่คัดลอกมาในข้อ 6)
  8. เปลี่ยนข้อความตามด้านล่างและบันทึก เปลี่ยนบรรทัด
    require(’./wp-blog-header.php’); เป็น
    require(’./blog/wp-blog-header.php’);
    โดย blog (ที่เน้นสี) คือ โฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress
  9. ล็อกอินเข้าสู่ Administration Panel ของ WordPress ทาง http://example.com/blog/wp-admin
  10. ถ้าเคยตั้งค่า Permalink ให้ไปที่ Options | Permalinks แล้วทำการปรับปรุงโครงสร้าง Permalinks ของคุณ WordPress จะทำการปรับปรุงไฟล์ .htaccess ของคุณโดยอัตโนมัติ

บทความนี้ยังรวมถึง ผู้ที่เริ่มต้นทำเว็บ ต้องการทำเว็บบล็อกโดยใช้ WordPress และติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory แทนการติดตั้งไว้ที่ site root ก็สามารถประยุกต์การใช้ในได้ในรูปแบบเดียวกัน

[tags]การย้ายบล็อก[/tags]

กายวิภาคของบล็อก WordPress

การแสดงผลของบล็อก WordPress มีความแตกต่างกันตามธีม (Themes) ที่ติดตั้ง ซึ่งธีมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงผลของบล็อก รวมทั้งปลั๊กอินที่อาจจะติดตั้งไว้อีกด้วย แต่ก็จะมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สามารถพบเห็นได้จากบล็อกทั่วไป ต่อไปจะได้แสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบของบล็อกมีอะไรบ้าง
Continue reading →

ทำความรู้จัก WordPress

ทำความรู้จัก WordPress

WordPress ไม่ใช่โปรแกรมปกติเหมือนกับโปรแกรมอื่น ๆ ทั่วไปที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ เช่น MicroSoft Word, MicroSoft Excel เป็นต้น ไม่ใช่ปลั๊กอินสำหรับเบราเซอร์ เหมือนกับ QuickTime หรือ Flash Player แต่มันเป็นระบบสิ่งพิมพ์บนเว็บ ที่สร้างโดยใช้ PHP และฐานข้อมูล MySQL ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ทำงานบน Unix

Continue reading →

การใช้งาน WordPress

มีอยู่ 3 วิธีในการใช้งาน WordPress เพื่อสร้างและดูแลบล็อก

  1. ใช้บริการที่ WordPress.Com วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการที่จะมีบล็อกเป็นของตนเอง คุณสามารถใช้งานได้อย่างเต็มฟังก์ชั่นที่มี แต่คุณจะไม่สามารถปรับแต่งคุณลักษณะที่เด่นหรือติดตั้งปลั๊กอินของ WordPress เพิ่มเติมได้
  2. ติดตั้งบน Hosting คือคุณจะต้องเช่า host ที่มีฐานข้อมูล MySQL ด้วย รวมทั้งจดโดเมน เพื่อทำบล็อกในชื่อโดเมนของคุณเอง หรืออาจจะใช้แบบ Sub-domain ก็ได้ ถ้าไม่อยากเสียเงิน ก็อาจจะหา host ฟรี ๆ ที่รองรับ PHP และ MySQL โดยชื่อที่ได้เป็น Sub-domain ของ host ฟรีนั้นก็ได้ การติดตั้งในลักษณะนี้จะทำให้คุณสามารถติดตั้งปลั๊กอิน ปรับแต่งคุณลักษณะต่างๆ ของ WordPress ได้ตามความต้องการของคุณเองเลยหล่ะครับ
  3. ติดตั้งบนเครื่องของคุณเอง คือติดตั้งโปรแกรมที่ทำให้เครื่องของคุณเป็น Web Server เช่น Xampp, Wamp, AppServ หรือ WM Server Tools เป็นต้น แล้วติดตั้ง WordPress ทดสอบการใช้งานต่าง ๆ เมื่อคล่องแล้วก็อาจจะย้ายข้อมูลต่าง ๆ ไปทำแบบเช่า host ก็ได้ หรือจะติดตั้งบนเครื่องแล้วเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านบล็อกของคุณ หรือจะติดตั้งบล็อกในรูปแบบของอินทราเน็ต ก็ได้อีกเช่นกัน

จากรูปแบบการใช้งาน WordPress ตามที่กล่าวมา ก็ลองพิจารณาดูว่า อย่างไหนถูกใจสำหรับคุณ อยากมีบล็อกเร็ว ๆ และเผยแพร่สู่สายตนคนอื่นได้ ก็แนะนำ WordPress.Com เลยครับ ง่ายดี สมัครแป๊บเดียวก็ได้มีบล็อกกับเขาบ้างแล้ว แต่อยากใช้ WordPress แบบปรับโน่นแต่งนี่ ก็ลองทำแบบข้อ 3 ครับ จำลองเครื่องเป็น Web Server แล้วลองติดตั้งดู เพิ่มปลั๊กอิน เปลี่ยนธีมได้อย่างสนุกสนานตามใจคุณได้เลยครับ เมื่อคล่องแล้วก็หากต้องการเผยแพร่ข้อมูล ก็เช่า host จดโดเมนทำบล็อกแบบเต็มรูปแบบไปเลย

[tags]WordPress, การใช้งาน WordPress[/tags]

WordPress คืออะไร

WordPress เป็นโปรแกรมสำหรับทำบล็อก พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GNU General Public License

WordPress มีการใช้งานที่ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เป็นที่นิยมของบล็อกเกอร์ทั่วโลกรวมทั้งชาวไทยด้วยเช่นกัน มีผู้พัฒนาปลั๊กอิน และธีม (รูปแบบการแสดงผล) ให้เลือกใช้แบบฟรี ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

นอกจาก WordPress รุ่นปกติแล้ว ยังมี WordPress MU อีกรุ่นหนึ่ง ที่ไว้ให้ผู้ใช้นำไปเปิดเป็นผู้ให้บริการพื้นที่ทำเว็บบล็อก ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถมาสมัครเพื่อสร้างเว็บบล็อกของตนเองได้

หน้าต่างควบคุมระบบของ WordPress
dashboard

WordPress นี้พัฒนาต่อยอดมาจาก b2\cafelog ที่พัฒนาโดย Michel Valdrighi และชื่อ WordPress นี้ก็ได้มาจากการแนะนำของ Christine Selleck ซึ่งเป็นเพื่อนกับหัวหน้าทีมพัฒนา นั่นคือ Matt Mullenweg โดยปรากฏโฉมครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Matt Mullenweg และ Mike Little เพื่อที่จะสร้าง fork ของ b2

ในปี 2547 บริษัท Six Apart ผู้พัฒนา Moveable Type ได้มีการคิดค่าใช้งาน ทำให้ผู้ใช้หันมาใช้ WordPress กันเป็นจำนวนมาก

ตอนนี้ก็คงจะเกริ่นนำเพื่อทำความรู้จักกันไปก่อนนะครับ เดี๋ยวจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับ WordPress อีกหลาย ๆ ด้าน มาให้ได้อ่านกัน คอยติดตามกันต่อไปครับ