การสร้างไฟล์ .htaccess ใน WordPress

ใน WordPress ไฟล์ .htaccess จะช่วยให้เราสามารถทำ permalinks ได้ ในกรณีที่ host นั้นไม่สนับสนุน mod_rewrite ให้เราสร้างไฟล์ .htaccess แล้วทำการ chmod เป็น 777

เช่น ในกรณีใช้ WordPress ใน 000webhost.com ซึ่งไม่สนับสนุน mod_rewrite ทำให้ไม่สามารถใช้ permalinks ได้ ให้เราสร้างไฟล์ .htaccess

การสร้างไฟล์ .htaccess

เปิด Notepad ขึ้นมา แล้วตอนบันทึกให้พิมพ์ “.htaccess” แล้วคลิกปุ่ม Save อัพโหลดไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress แล้วทำการ chmod เป็น 777 จากนั้น ให้ทำการอัพเดท permalinks อีกครั้ง

การปิด Post Revision ใน WordPress 2.6

Post Revision เป็นคุณลักษณะใหม่ของ WordPress ที่มีในรุ่น 2.6 มันจะเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของบทความที่มีการแก้ไขในแต่ละครั้งเหมือนกับพวก Wiki ทำให้เราย้อนกลับไปเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของบทความได้ แต่เราก็จะเสียพื้นในการจัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยเช่นกัน

ในกรณีที่คุณไม่อยากใช้คุณลักษณะนี้ ก็สามารถปิดการใช้งานได้ โดยการนำโค้ดด้านล่างไปใส่ไว้ใน wp-config.php

define('WP_POST_REVISIONS', false);

การลบ Post Revision ที่ถูกสร้างขึ้นแล้ว ให้รันโค้ดด้านล่างใน phpmyadmin

DELETE FROM wp_posts WHERE post_type = 'revision';

ข้อสังเกต : wp_posts นั้น wp_ คือ $table_prefix ที่กำหนดไว้ใน wp-config.php หากบล็อกของคุณมีการกำหนด $table_prefix เป็นอย่างอื่น ก็ให้แก้ไขตาม ให้ถูกต้อง

แต่ก่อนที่จะทำการการสอบถามต่าง ๆ ใน phpmyadmin ควรที่จะสำรองข้อมูลไว้ก่อนเสมอ

อ้างอิง : How To Turn Off Post Revision In WordPress 2.6

การหาหมายเลข ID ของ Categories

WordPress ตั้งแต่ 2.5 เป็นต้นมา จะไม่แสดงหมายเลข ID ของ Categories ที่ด้านหน้าของชื่อ Categories ดังนั้นในกรณีที่ต้องการหาหมายเลข ID ของ Categories เพื่อนำไปปรับแต่งใน Themes หรือ Plugins อย่างเช่นพวก Themes เกี่ยวกับ Magazine เป็นต้น ให้เข้าไปที่ Dashboard เลือกเมนู Manage->Categories แล้วเลื่อนเม้าส์ไปยังชื่อ Categories ที่ต้องการ แล้วดูหมายเลข ID ของ Categories ที่ status bar ของ เบราเซอร์

การหา ID ของ Categories

เมื่อได้หมายเลข ID แล้วก็สามารถนำไปปรับแต่ง Themes หรือปลั๊กอินได้ตามสะดวกครับ

การเขียนบทความล่วงหน้า

ใน WordPress การเขียนบทความ เมื่อเราคลิกปุ่ม Publish ที่อยู่ด้านขวามือของกรอบเขียนบทความ บทความจะถูกบันทึกและปรากฏต่อสายตาผู้ชมเว็บทันที

เราสามารถกำหนดวันเวลาในการแสดงบทความที่หน้าบล็อกของเราได้ กล่าวคือ เมื่อเรากำหนดวันเวลาของบทความซึ่งเป็นเวลาล่วงหน้า แม้เราจะคลิกปุ่ม Publish ไปแล้ว บทความนั้นก็จะไม่ถูกแสดงที่หน้าบล็อก จนกว่าจะถึงวันเวลาที่เราได้กำหนดเอาไว้

ประโยชน์ของการเขียนบทความล่วงหน้า ก็เช่น ในวันหยุด เราไม่ได้เขียนบล็อก เราก็อาจจะเขียนไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงวันหยุดบทความก็จะแสดงที่หน้าบล็อก ทำให้มีบทความแสดงอย่างต่อเนื่อง ผู้ชมก็จะไม่ทราบว่า เราเขียนไว้ ณ เวลานั้น หรือเขียนไว้ล่วงหน้า

เราอาจจะมีบทความหลาย ๆ บทความ ไม่ได้เขียนทุก ๆ วัน ก็อาจจะเขียนพร้อม ๆ กันหลาย ๆ บทความ แล้วกำหนดวันเวลาให้แสดงบทความวันละบทความ ทุก ๆ วัน ก็จะทำให้ดูเหมือนว่าเรามีการอัพเดทบล็อกทุก ๆ วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าชมบล็อกของเราบ่อยขึ้น ดีกว่า การเขียนบทความหลาย ๆ บทความในเวลาเดียวกัน แล้วหยุดไปหลาย ๆ วัน ขาดความต่อเนื่อง

การกำหนดวันเวลาล่วงหน้า

เมื่อเขียนบทความเสร็จแล้ว ก่อนที่จะคลิกปุ่ม Publish ให้คลิกที่ Edit เพื่อกำหนดวันเวลาที่จะให้บทความแสดงที่หน้าบล็อก

กำหนดวันเวลาที่ต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว จึงคลิกปุ่ม Publish

เข้าสู่ Dashboard ไม่ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การติดตั้ง WordPress ทดสอบบนเครื่องส่วนตัว บางครั้งมีปัญหาเกิดขึ้นกับธีมบางธีม ทำให้ไม่สามารถเข้าไปยัง Dashbaord ได้ หากไม่เข้าใจวิธีการแก้ปัญหา อาจจะทำให้ต้องทำการติดตั้งใหม่ ซึ่งผมมีวิธีแก้ปัญหานี้ง่าย ๆ อ้อ! ขอบอกก่อนนะครับว่า ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป อาจจะเกิดขึ้นได้ในบางกรณีเท่านั้น แต่…ก็ไม่ยากที่จะเรียนรู้

Continue reading →