ขยายกรอบเขียนบทความให้ใหญ่ขึ้น

เมื่อเราเขียนบทความในกรอบเขียนบทความ หรือ Post Box นั้น ในบางครั้ง กรอบที่มีอยู่อาจจะเล็กไป ทำให้เห็นบทความทั้งหมดไม่ชัดเจน ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ อาจจะต้องการที่จะขยายกรอบนั้นให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อสะดวกในการเห็นภาพรวมของบทความ

ภาพ post box

กรอบสำหรับโพสต์บทความ ที่อาจจะเล็กไปในบางครั้ง โดยเฉพาะที่มีการแทรกรูปภาพประกอบ

มีวิธีในการขยายกรอบเขียนบทความมาแนะนำด้วยกัน 3 วิธี

ขยายด้วยการเพิ่มบรรทัด

1. เลือกเมนู Settings -> Writing แล้วกรอกตัวเลข 30 ในช่อง Size of the post box (หรือตัวเลขอื่น ๆ ที่เห็นสมควร ค่าเริ่มต้นของตัวเลขในช่องนี้คือ 10 บรรทัด)

ขยายด้วยการลากมุมของ post box

2. ในโหมด Visual ให้คลิกเม้าส์ที่มุมกรอบเขียนบทความด้านล่างขวา แล้วลากลงขยายตามความต้องการ

ขยายด้วยการเข้าสู่โหมด FullScreen

3. ในโหมด Visual ให้คลิกที่ปุ่มโหมด FullScreen จะเป็นการขยายกรอบเขียนบทความเต็มหน้าจอภาพ หากต้องการกลับไปยังกรอบขนาดเดิม ให้คลิกที่ปุ่มโหมด FullScreen อีกครั้ง

ลองนำไปประยุกต์ใช้งานตามวิธีการที่เห็นสมควร คงจะช่วยให้เขียนบทความได้สะดวกกว่าเดิมเป็นแน่

WordCamp Bangkok 2008

WordCamp Bangkok 2008 งานชุมนุมคนใช้ WordPress ครั้งแรกในไทย จัดขึ้นที่ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในวันที่ 19 ตุลาคม 2551 งานนี้ตั้งเป้าผู้ร่วมงานประมาณ 150 คน จะเป็นการเชิญเข้าร่วมงานเท่านั้น ดังนั้น ใครสนใจจะเข้าร่วม เชิญอ่านรายละเอียดของงานและลงทะเบียนเพื่อรอติดต่อกลับเชิญเข้าร่วมงานได้ที่ WordCamp Bangkok 2008

การเปลี่ยนธีม

การเปลี่ยนธีมนี้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลของบล็อก เพื่อให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้นหรือเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศกัน การเปลี่ยนธีมนี้ ไม่ยากเลย ลองมาดูขั้นตอนการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลหน้าบล็อกกัน

หน้า Dashboard

ที่หน้า Dashboard เลือกเมนู Design หรือคลิกที่ Change Theme เพื่อไปยังหน้าเพจสำหรับเปลี่ยนธีม

รายการธีมต่าง ๆ

หลังจากเลือกเมนู Design หรือคลิก Change Theme แล้วเปิดไปยังหน้าแสดงรายการธีมต่าง ๆ ธีมด้านบน คือธีมที่กำลังใช้งานอยู่ ส่วนด้านล่างคือรายการธีมต่าง ๆ ที่เราสามารถเลือกใช้ได้

เลือกธีม

คลิกบนรูปภาพของธีมที่ต้องการ

ภาพตัวอย่าง

WordPress จะแสดงรูปภาพตัวอย่างของธีมก่อนการใช้งานจริง เราสามารถเลื่อน scrollbar ลงมาเพื่อดูหน้าบล็อกทั้งหมด หรือคลิกบนหัวข้อบทความ เพื่อดูตัวอย่างการแสดงผลบทความ หลังจากที่ได้ดูภาพตัวอย่างแล้ว หากไม่ต้องการธีมนี้ ให้คลิก ปุ่ม กากบาท (หมายเลข 1) หากต้องการใช้ธีมนี้ คลิก “Activate.. ชื่อธีม” (หมายเลข 2) ให้คลิกที่ “Activate…” เพื่อเลือกใช้ธีมนี้แสดงผล

หลังเลือกธีมแล้ว

เมื่อเลือกธีมแล้ว จะปรากฏข้อความ “New theme activated” ภาพเล็กของธีมที่เลือกจะปรากฏใต้ “Current Theme” นั่นหมายความว่า การเลือกธีมใหม่สำเร็จแล้ว สามารถเลือกดูความเปลี่ยนแปลงที่ด้านหน้าของบล็อกได้โดยการคลิกที่ “Visit Site”

ภาพหน้าบล็อกหลังเปลี่ยนธีมแล้ว

หลังจากคลิก “Visit Site” หรือเปิดไปที่หน้าบล็อกแล้ว ก็จะเห็นหน้าบล็อกเปลี่ยนไปตามรูปแบบธีมที่ได้เลือกไว้

คู่มือ WordPress

คู่มือ WordPress นี้ เป็นการรวบรวมบทความต่าง ๆ ที่เคยเขียนเอาไว้ จัดให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อค้นหาได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทะยอยเขียนบทความเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ หากมีข้อติชมหรือข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามเข้ามาได้

ความรู้เบื้องต้น

ทำความรู้จักกับ WordPress ในแง่มุมต่าง ๆ ก่อนที่จะลงมือศึกษาอย่างจริงจัง

การติดตั้ง

เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ในการติดตั้งบล็อกด้วย WordPress ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ไม่ยาก แต่ที่หนักก็เห็นจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ที่จะนำมาจำลองเครื่องให้เป็น Web Server นี่แหล่ะ เพราะมีขนาดใหญ่ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็ไ่ม่มีปัญหา เพราะโปรแกรมออกแบบมาให้ติดตั้งกันอย่างง่าย ๆ ครับ

การปรับแต่ง : การใช้งาน

เสริมประสิทธิภาพด้วย Plugins

ปลั๊กอินเป็นฟังก์ชั่นที่จะเสริมการทำงานของ WordPress ให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นตามที่เราต้องการ

การใช้งานระดับสูง

ส่วนนี้จะเป็นการใช้งานสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับ WordPress มาบ้างแล้ว และต้องการใช้งานมากกว่าระดับพื้นฐาน และกล่าวถึงในส่วนของการทำงานจริงบน Server หรือโฮสติ้ง

ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

รวบรวมปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา

วีดีโอสอนการใช้งาน

การตั้งเขตเวลาบล็อก

การตั้งเขตเวลาในบล็อก หากตั้งค่าที่ถูกต้อง ก็จะทำให้การแสดงผลเวลาถูกต้องไปด้วย รวมทั้งการตั้งเวลาแสดงบทความล่วงหน้าก็จะถูกต้องตามเวลาเป็นจริงด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยอยู่ในเขตเวลา UTC +7 (UTC = Coordinated Universal Time) ดังนั้น หากทำเว็บเพื่อให้คนไทยอ่าน ไม่ว่าจะ Server ที่ใช้ทำเว็บจะอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ รวมทั้งการติดตั้ง WordPress บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ก็ควรที่จะตั้งเวลาเป็น +7 UTC

การตั้งค่าเขตเวลานั้นทำดังนี้

  1. เข้าไปที่ Dashboard
  2. เลือกเมนู Settings
  3. เลื่อนเบราเซอร์ลงมาด้านล่าง จนเห็นหัวข้อ “Timezone”
  4. เลือกเป็น “UTC +7”
  5. คลิกปุ่ม Save Changes

ปรับเขตเวลาบล็อก

เมื่อกำหนดเขตเวลาตรงกับประเทศไทยแล้ว การบันทึกบทความต่าง ๆ ก็จะเป็นเวลาในประเทศไทย