ย้ายโฟลเดอร์ แต่เข้าถึงบทความได้เหมือนเดิม

การย้ายโฟลเดอร์ของ WordPress แล้วผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงบทความเดิมได้ หรือหาไม่เจอนั้น ผมไม่แน่ใจว่ามีผู้ใช้พบปัญหาอย่างนี้หรือไม่ เช่น สมมติว่า ตอนแรกอาจจะลองทำบล็อกที่ http://domain.com/wordpress พอนาน ๆ เข้า อยากจะเปลี่ยนเป็น http://domain.com/blog หรือจาก http://domain.com/blog แต่อยากจะเปลี่ยนเป็น http://domain.com แต่ทำไงดี บทความเยอะ มีคนอ้างอิงเยอะ หากจะเปลี่ยน ผู้ใช้ก็จะไม่เจอบทความเดิม

ปัญหานี้มีทางออก กล่าวคือ ให้คุณสร้างไฟล์ .htaccess แล้วบรรจุข้อความ

 
PGNvZGU+DQpPcHRpb25zICtGb2xsb3dTeW1MaW5rcw0KUmV3cml0ZUVuZ2luZSBvbg0KUmV3cml0ZVJ1bGUgKC4qKSBodHRwOi8vbmV3dXJsLyQxIFtSPTMwMSxMXQ0KPC9jb2RlPg==

ตรง http://newurl คือชื่อ URL ใหม่ของบล็อกนั่นเอง แล้วนำไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์ของบล็อกเดิม เมื่อผู้ใช้เปิดบทความตาม url เดิม ก็จะทำการ redirect (เปลี่ยนหน้า) ไปเปิดหน้าบทความตาม url ใหม่ ทำให้ผู้ใช้ยังคงเข้าถึงเนื้อหาของบทความได้เหมือนเดิม

การสำรองข้อมูลโดย phpMyAdmin

การสำรองข้อมูลของ WordPress จากฐานข้อมูลทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น สำรองข้อมูลจาก Control Panel ของโฮสต์ที่เราใช้บริการอยู่, การสำรองข้อมูลด้วยปลั๊กอินของ WordPress, การสำรองข้อมูลโดยใช้ phpMyAdmin เป็นต้น

ในบทความนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องการสำรองข้อมูลโดยใช้ phpMyAdmin โดยแสดงถึงวิธีการสำรองข้อมูลจาก phpMyAdmin และการคืนข้อมูลกลับไปยังฐานข้อมูล ซึ่งการสำรองข้อมูลนี้นอกจากจะเป็นการสำรองข้อมูลตามปกติแล้ว เรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสำรองข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การสำรองข้อมูลเพื่อย้ายโฮสต์ของบล็อก WordPress, การสำรองข้อมูลจากบล็อกออนไลน์เพื่อนำข้อมูลมาใช้กับ WordPress ที่อยู่ในเครื่อง Desktop เป็นต้น
Continue reading →

ปิดการแสดงความเห็น

การปิดการแสดงความเห็นหรือคอมเม้นต์นั้น ใน WordPress เราสามารถทำได้ด้วยการปิดเฉพาะบางบทความ โดยนำเครื่องหมายถูกออกจากหน้ารายการ Allow comments on this post ในบทความที่เราไม่ต้องการให้ผู้ชมแสดงความเห็น

หรือเฉพาะบทความที่จะเขียนในอนาคต กล่าวคือ เราสามารถปิดการแสดงความเห็นได้โดยไปที่เมนู Settings->Discussion แล้วนำเครื่องหมายถูกหน้า Allow people to post comments on the article ออก จะเป็นการปิดการแสดงความเห็นในบทความที่เราจะเขียนในอนาคต คือหลังจากที่เรากำหนดค่านี้แล้ว ต่อไปหากเขียนบทความ ในส่วนการกำหนดการแสดงความเห็นตรง Allow comments on this post หน้ารายการนี้จะไม่มีเครื่องหมายถูกอีกต่อไป หากเราต้องการให้แสดงความเห็นได้ ก็เพียงทำเครื่องหมายถูกหน้า Allow comments on this post ในบทความที่เราเขียน ผู้ชมก็สามารถแสดงความเห็นได้ตามปกติ ซึ่งการกำหนดค่านี้จะมีสิทธิ์เหนือกว่าการกำหนดค่าใน Settings->Discussion

แต่หากมีความต้องการที่จะปิดการแสดงความเห็นทั้งหมดในคราวเดียวกันล่ะ เช่น ในกรณีที่มีผู้แสดงความเห็นที่เป็นขยะอยู่บ่อย ๆ อยากจะปิดแสดงความเห็นสักระยะหนึ่ง หรือในกรณีที่เราต้องการจะย้ายโฮสต์ไปยังที่ใหม่ หลังจากที่เราสำรองข้อมูลไปแล้ว บล็อกก็ยังแสดงข้อมูลในโฮสต์เดิมอยู่ ผู้ชมอาจจะแสดงความเห็นเข้ามาได้ เมื่อระบบบล็อกย้ายไปสู่โฮสต์ใหม่ จะทำให้ความเห็นที่ผู้ชมแสดงไว้ในโฮสต์เก่านั้นหายไป เราจึงจำเป็นต้องปิดการแสดงความเห็นไว้เป็นการชั่วคราว เป็นต้น
Continue reading →

การย้ายบล็อก WordPress สู่โฮสต์ใหม่

การใช้ WordPress ไปนาน ๆ อาจจะต้องการที่จะเปลี่ยนโฮสต์ใหม่ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ให้บริการไม่ดี, ช้า, อยากได้พื้นที่มากขึ้น, อยากได้แบนด์วิดธ์มากขึ้น, อยากได้ฐานข้อมูลมากขึ้น, อยากได้โฮสต์ราคาถูก, ไปใช้ของฟรี จะเห็นว่า ด้วยสาเหตุหลายประการจริง ๆ

การย้าย WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่นั้น ก็ไม่ได้ยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิดไปล่วงหน้า บางทีกลัวเพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่จริง ๆ แล้วง่ายครับ เพราะจริง ๆ แล้ว WordPress จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนของไฟล์ติดตั้ง (รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเพิ่มเข้าไป เช่นปลั๊กอิน, ธีม เป็นต้น) และอีกส่วนคือ ส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเขียนไป เช่นบทความ ข้อมูลเพจ (page) และความเห็นต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ในฐานข้อมูล MySQL เราก็สำรองข้อมูลทั้ง 2 ส่วนนี้ไป และปรับแต่งส่วนอื่น ๆ อีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง ทุกอย่างก็ราบรื่นแล้วหล่ะครับ

การย้ายบล็อกนี้ ควรที่จะเช่าโฮสต์ใหม่รอไว้ก่อน ก่อนที่จะย้าย และมีขั้นตอนในการย้ายบล็อก WordPress ดังนี้

  1. สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
  2. สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า) มาไว้ที่เครื่องของเรา
    ก่อน
  3. สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
  4. นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
  5. แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นหากใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน)
  6. อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manger จะเร็วกว่า)
  7. ไปยังส่วนจัดการโดเมนของผู้ให้บริการจดโดเมนที่เราได้จดโดเมนไว้ เปลี่ยน NameServer ให้เป็น NameServer ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่
  8. รอ NameServer อัพเดท ไม่เกิน 24 ชม. ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บนโฮสต์ใหม่ได้แล้ว

ขั้นตอนตามที่แสดงมา คงช่วยให้ผู้ที่ต้องการย้ายโฮสต์ ได้คลายกังวลและศึกษาเป็นแนวทางได้ หากมีข้อสงสัยอะไร สอบถามเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นเข้ามาได้ครับ


ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 27 มกราคม 2552

คำแนะนำ

เมื่อสำรองข้อมูลมาแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย โดยการขยายและเปิดดูข้อมูล หากมีปัญหาให้ทำการสำรองข้อมูลอีกครั้ง

การเปลี่ยนเส้นทางบล็อก

ผู้ใช้ WordPress บางท่าน ติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory เช่น http://example.com/blog หรือ http://example.com/wordpress เมื่อเว็บมีการเติบโตขึ้น ต้องการเปลี่ยนการทำเว็บไซต์แบบเดิมเป็นเว็บบล็อก คือเรียกบล็อกจาก http://example.com เลย โดยที่ไม่ต้องมีการติดตั้ง WordPress ใหม่และยังต้องการให้ไฟล์ต่าง ๆ ของ WordPress ยังคงอยู่ในโฟลเดอร์เดิม

WordPress นั้น อนุญาตให้คุณสามารถติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory แต่มีการเรียกใช้งานบล็อกจาก site root ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

  1. เข้าไปที่ Administration Panel
  2. ไปที่เมนู Options
  3. ในช่อง WordPress address (URL) : ให้ป้อน URL ที่ติดตั้ง WordPress เช่น http://example.com/blog หรือ http://example.com/wordpress
  4. ในช่อง Blog address (URL) : เปลี่ยน URL เป็น site root เช่น http://example.com
  5. คลิกที่ Update Options เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  6. คัดลอกไฟล์ index.php และ .htaccess ที่อยู่ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress ไปยัง root directory ของ site
  7. เปิดไฟล์ index.php ที่ root directory ของ site โดย Text editor เช่น notepad เป็นต้น (index.php ไฟล์นี้ที่คัดลอกมาในข้อ 6)
  8. เปลี่ยนข้อความตามด้านล่างและบันทึก เปลี่ยนบรรทัด
    require(’./wp-blog-header.php’); เป็น
    require(’./blog/wp-blog-header.php’);
    โดย blog (ที่เน้นสี) คือ โฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress
  9. ล็อกอินเข้าสู่ Administration Panel ของ WordPress ทาง http://example.com/blog/wp-admin
  10. ถ้าเคยตั้งค่า Permalink ให้ไปที่ Options | Permalinks แล้วทำการปรับปรุงโครงสร้าง Permalinks ของคุณ WordPress จะทำการปรับปรุงไฟล์ .htaccess ของคุณโดยอัตโนมัติ

บทความนี้ยังรวมถึง ผู้ที่เริ่มต้นทำเว็บ ต้องการทำเว็บบล็อกโดยใช้ WordPress และติดตั้ง WordPress ไว้ใน subdirectory แทนการติดตั้งไว้ที่ site root ก็สามารถประยุกต์การใช้ในได้ในรูปแบบเดียวกัน

[tags]การย้ายบล็อก[/tags]